อันตรายของยาลดไข้
ถ้าหากลูกไม่
อันตรายของยาลดไข้สำหรับเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้
เมื่อลูกมีไข้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังคือการชักจากไข้สูง การดูแลให้ไข้ลดลงจึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจัดการให้เร็วที่สุด หากลูกมีไข้ต่ำๆการเช็ดตัวลดไข้สามารถช่วยลดอุณหภูมิได้ แต่… ถ้าเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลดลงหรือ มีอุณหภูมิมากกว่า 38 องศาเซลเซียส จำเป็นต้องให้ลูกรับประทานยาลดไข้ควบคู่กับการเช็ดตัวลดไข้ด้วย การเลือกใช้ยาลดไข้ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะถ้าเลือกใช้ยาลดไข้ผิดชนิดผิดขนาด อาจทำให้ลูกได้รับอันตราย ดังนี้
อันตรายของยาลดไข้กลุ่มพารามเซตามอล (Paracetamol หรือ Acetaminophen)
- ใช้ยาพาราเซตามอลขณะมีอาการเท่านั้น
- ให้ยาตามน้ำหนักและอายุ หรือขนาดที่แพทย์ หรือ เภสัชกร แนะนำ
- ไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอล นานติดต่อกันเกิน 5 วัน
- อาการแพ้ยาพาราเซตามอลที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้น
อันตรายของยาลดไข้กลุ่มไอบูโปรเฟน (Ibuprofen )
- รับประทานตามแพทย์สั่งเท่านั้น
- ควรรับประทานยาหลังอาหารทันทีเพื่อลดอาการระคายเคืองทางเดินอาหาร
- ยากลุ่มไอบูโปรเฟน ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ไม่รุนแรง ได้แก่ ผื่นคันตามผิวหนัง ลมพิษ ปวดเกร็งในช่องท้อง ปวดแสบยอดอก อาหารไม่ย่อยหรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีลมแน่น ท้องผูกหรือท้องเสียได้
- อาการแพ้ยากลุ่มไอบูโปรเฟนแบบรุนแรงควรพบแพทย์ทันที ได้แก่ ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติส่งผลให้ หัวใจเต้นเร็ว หอบหืด มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
ในเด็กการตอบสนองต่อยาแตกต่างจากผู้ใหญ่ หากให้ยาลดไข้แล้วไม่ได้ผลในครั้งแรก อย่าเพิ่มปริมาณยาเอง เพราะยาลดไข้มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ควรเว้นระยะเวลาการรับประทานตามแพทย์กำหนด และเช็ดตัวลดไข้ควบคู่ไปด้วย หากลูกมีไข้สูงติดต่อกัน 3 วัน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกโรคอย่างละเอียด
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. การให้ยาลดไข้ที่ถูกต้อง ในเด็กแต่ละช่วงวัย
2. ชนิดของยาลดไข้ และการเลือกใช้ยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
3. เตือนแม่ๆ!!! ตุ้งติ้งสร้อยข้อมือเด็กน้อย เข้ารูปลั๊กไฟ ช็อตจนมือไหม้
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : FB นุ่น'นน มา เฟีย'ยยย