แพ้ท้องรุนแรง
คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องมากน้อยแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงและสุขภาพจิตของคุณแม่แต่ละคน อาการแพ้ท้องเพียงเล็กน้อยนั้น เป็นภาวะปกติที่พบได้อยู่ในสัดส่วนที่มาก แต่การแพ้ท้องหนักมากๆ ต้องหยุดงาน และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำได้เลยก็มี ซึ่งอาการแพ้ท้องมากหลายคนคิดว่าไม่เป้นไร แค่นอนก็หาย ไม่จริงค่ะ คุณแม่ที่แพ้ท้องมากผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อรักษาให้ทุเลาลง เพราะการแพ้ท้องมาก ส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์
8 อาการแพ้ท้องรุนแรง ที่ต้องพบแพทย์
- เกิดอาการแพ้ท้องเร็วกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป เรียกว่า หลังปฏิสนธิก็อ๊วกเลย
- แพ้นานเกินปกติ คือ นานเกิน 12 – 14 สัปดาห์
- รับประทานอาหารไม่ได้ ดื่มน้ำไม่ได้ ได้กลิ่นอะไรเหม็นทุกอย่าง
- อาเจียนจนหมดไส้หมดพุง อาเจียนเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวเขียวปนเหลืองออกมาด้วย พราะไม่มีอาหารในกระเพาะเหลือแล้ว ทำให้ระคายคออาจมีเลือดปน
- เส้นเลือดฝอยที่ตาขาวแตก จากแรงดันที่โก่งคออาเจียนบ่อยๆ
- น้ำหนักลดลง 4 กิโลกรัมขึ้นไป
- ร่างกายขาดน้ำรุนแรง อ่อนเพลียมาก ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะออกน้อย สีเหลืองเข้ม
- หน้ามืดเป็นลม
การแพ้ท้องรุนแรง อาจส่งผลเสียต่อแม่และทารกในครรภ์ได้ หากมีอาการผิดปกติคุณแม่ตั้งครรภ์ควรพบแพทย์โดยด่วน อันตรายจากการแพ้ท้องรุนแรงมีดังนี้
อันตรายจากการแพ้ท้องรุนแรง
- แพ้ท้องรุนแรงส่งผลให้ร่างกายขาดความสมดุลย์ของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
เนื่องจากการอาเจียนบ่อยครั้ง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ใจสั่น เป็นตะคริว เพราะระบบในร่างกายขาดสมดุล ส่งผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ได้ - แพ้ท้องรุนแรงทำให้ขาดสารอาหาร
เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ร่างกายจึงดังเอาพลังงานที่สระสมอยู่ในร่างกายมาทดแทน
ได้แก่ไขมันในร่างกาย จึงทำให้เกิดการคั่งของ ของ เสียจากการเผาผลาญพลังงานเหล่านี้ออกมาใช้ เลือดจึงมีภาวะเป็นกรด ออกซิเจนในเลือดลดลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในที่สุด - แพ้ท้องรุนแรทำให้ตัวอ่อนในครรภ์เจริญเติบโตช้าหรือหยุดการเจริยเติบโต
เนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงตัวอ่อนในครรภ์ได้ไม่ดี - แพ้ท้องรุนแรงทำให้ไตวาย
เนื่องจากขาดน้ำรุนแรง เลือดหนืดมากขึ้น จึงไหลเวียนไปเลี้ยงไตได้น้อยลง ส่งผลให้ไตทำงานผิดปกติ หรือไตวายได้ - แพ้ท้องรุนแรงทำให้คุณแม่ช็อคได้
จากระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว
การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เพราะ มีหัวใจน้อยๆอีกหนึ่งดวง ที่การเจริญเติบโตของเขาอยู่ในมือคุณ ดูเเลใส่ใจ สุขภาพครรภ์ให้ดี เพื่อพัฒนาการที่ของทารกในครรภ์นะคะ
เรื่องแนะนำเพิ่มเติม :
1. ปริมาณน้ำนมที่ลูกควรได้รับในแต่ละวัน แบ่งตามอายุ
2. ลูกกินนมแม่จ้ำม่ำได้ทำตามนี้เลย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team