อาการร้อนในของลูกน้อย
อาการร้อนในของลูกน้อย คุณแม่ดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี
แผลร้อนในปาก ( Aphthous ulcer หรือ Aphthous stomatitis ) หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า “อาการร้อนใน” พบได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่แบเบาะจนถึงวัยเรียน อาการร้อนในเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันอาการแสดงที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนคือ ภายในช่องปากลูกน้อยจะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆ ที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผลส่วนมากจะไม่มีไข้ เด็กบางคนมีทั้งแผลในปากและมีไข้ร่วมด้วย หากลูกน้อยมีไข้สูง ควรพบกุมารแพทย์
เมื่อลูกมีอาการร้อนใน (แผลในปาก ) จะมีพฤติกรรมเปลี่ยน ดังนี้
- ลูกน้อยดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
- ไม่เคี้ยวอาหาร เนื่องจากเกิดอาการเจ็บปาก
- ลมหายใจมีไอร้อน
- บ่นเจ็บคอ ในเด็กโต
- ในเด็กบางรายเปลี่ยนวิธีการหายใจจากทางจมูกเป็นการหายใจทางปากแทน
สาเหตุของการเกิดร้อนใน (แผลในปาก)
- ติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส ในเด็กจะเป็นตุ่มใสๆ บางครั้งตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนกับแผลร้อนใน บางคนเป็นหลายๆ แผลในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้สร้ามความเจ็บปวดและทรมานกับเด็กๆ เป็นอย่างมาก มักเกิดในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
- ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง กำลังไม่สบาย เช่น เป็นหวัด
- ทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป
- ลูกน้อยกัดปากตนเอง
- ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12
แนวทางการรักษาอาการร้อนใน ( แผลในปาก ) สำหรับเด็ก
อาการร้อนใน ( แผลในปาก ) รักษาตามสาเหตุและอาการ หากเกิดจากการติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ บางรายปวดและมีไข้ด้วยแพทย์จะให้ยาลดไข้บรรเทาปวดร่วมด้วยในเด็กแต่ละคนมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญในรายที่มีไข้คุณแม่ควรมมีการตรวจเช็กอุณภูมิของลูกเป็นระยะ เพื่อป้องกันอาการชักที่เกิดจากไข้ด้วย
อุณภูมิเท่าไหร่เรียกว่า มีไข้
หากลูกมีแผลในปากอาการแทรกซ้อนที่ตามมาคือมีไข้ร่วมด้วยการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีทำให้ลูกปลอดภัย และไข้ลดลงอย่างรวดเร็วไข้มีหลายระดับคุณแม่ควรดูให้ถูกต้องตามนี้
- ไข้ต่ำๆ อุณภูมิ 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส
- ไข้ปานกลาง อุณภูมิ 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูง อุณภูมิ 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส
- ไข้สูงมาก 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
หากลูกคุณแม่มีไข้ในระดับอุณภูมิที่น้อยกว่ 37.8o C การดูแลคือเช็ดตัวบ่อยๆ ไม่ต้องรับประทานยลดไข้ แต่ถ้าอุณภูมิกายสูงกว่า 37.8o C ขึ้นไป ควรได้รับยาลดไข้ร่วมกับการเช็ดตัวอย่างถูกวิธีควบคู่ไปด้วยจะทำให้อุณภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว
เทคนิคที่ทำให้ลูกไข้ลดลงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย
- ลดไข้ด้วยการการเช็ดตัว ควรเช็ดด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิระหว่าง 27-37 องศาเซลเซียส และไม่ควรเกิน 40o C จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวช่วยระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น หลักการเช็ดที่ถูกต้องคือการเช็ดเพื่อระบายความร้อน ด้วยการเปิดรูขุมขนให้กว้างมากขึ้นโดยการเช็ดเข้าสู่หัวใจ โดยเช็ดบริเวณหน้าและพักไว้ที่ซอกคอ หลังหู หน้าผาก แขนทั้ง 2 ข้างจากปลายเเขนเช็ดขึ้นไปยังต้นแขน รักแร้ ลำตัวเช็ดจากเอวขึ้นไปแผ่นหลัง จกช่วงคอไล่ลงมาบริเวณกลางหลัง หน้าอก ไม่ควรเช็ดตัวลูกนานเกิน 20 นาที เพราะอาจทำให้ลูกน้อยชักจากอาการตัวเย็นได้
- ลดไข้ด้วยการดื่มน้ำดื่มน้ำมากๆ จะช่วยชดเชยน้ำส่วนที่ร่างกายสูญเสียเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มีไข้
- ลดไข้ด้วยการระบายความร้อนที่ดีใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย เพื่อระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
- การรับประทานยาลดไข้ยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็กได้แก่ยาพาราเซตามอล ในเด็กอ่อนให้รับประทานชนิดหยดในเด็กเล็กให้ทานชนิดน้ำเชื่อม ส่วนในเด็กโตสามารถรับประทานชนิดเม็ดได้ยาแต่ละช่วงวัยความเข้มข้นของยาแตกต่างกัน และให้ยาตามน้ำหนักตัวเท่านั้นคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนให้ลูกทานยา นอกจากนั้นคุณแม่อาจให้ลูกเลือกทานยาลดไข้ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเพราะช่วยทั้งเรื่องร้อนในและลดไข้ บรรเทาปวดไปในตัวด้วยยาชนิดเดียวสมุนไพรที่มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็นปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น เขากุย เต็งซิม กั๊วกิง เลี้ยงเคี้ยว กิกแก้ กิมงิ่งฮวยเป็นต้น
วิธีการป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็ก
วิธีการป้องกันที่ดีทีสุดคือการรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปากสำหรับลูกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ไม่ควรน้ำเพื่อล้างคราบนมออกเนื่องจากน้ำนมแม่มีสารต้านการเติบโตของเชื้อรา ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมควรให้ดื่มน้ำตามมากๆเพื่อล้างคราบนมออก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก
**สนับสนุนโดย ยาน้ำแก้ร้อนในเขากุย ตราอ้วยอันโอสถ
Website: http://www.kaokuiouayun.com
Facebook: https://www.facebook.com/ouayunkids