ปากมดลูกหลวม
ภาวะปากมดลูกหลวม คืออะไร?
ภาวะปากมดลูกหลวม หรือ ปากมดลูกปิดไม่สนิท ( Cervical insufficiency หรือ Cervical incompetence ) เป็นภาวะผิดปกติเกิดจาก ปากมดลูกไม่ปิดแนบสนิด ทำให้เกิดการแท้งบุตรขณะตั้งครรภ์ โดยการแท้งดังกล่าวไม่มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกร่วมด้วย
สาเหตุที่ทำให้ปากมดลูกหลวม ปากมดลูกปิดไม่สนิท
- เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ความดันในโพรงมดลูกสูง ส่งผลต่อการขยายตัวของมดลูกและปากมดลูกได้ พบมากในกรณีครรภ์แฝดน้ำ ภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
- เกิดจากการฉีกขาดขาดของปากมดลูก ในการคลอดครั้งที่แล้ว จึงทำให้ปากมดลูกปิดไม่สนิทในครรภ์ต่อมา
- ได้รับการผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน กรณีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกชนิดที่ต้องทำการผ่าตัดปากมดลูกไปตรวจ ทางการแพทย์เรียกว่า Cold knife conization
- เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูก หรือบริเวณปากมดลูก
- เกิดจากความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่กำเนิด
กลุ่มเสียงในแม่ตั้งครรภ์ที่อาจเกิดภาวะปากมดลูกหลวม ปากมดลูกปิดไม่สนิท
- ครรภ์แฝดน้ำ
- คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำคร่ำมาก
- ครรภ์แฝด
- เคยผ่านการขูดมดลูกมาก่อน
- เคยผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน
อาการของภาวะปากมดลูกหลวม ปากมดลูกปิดไม่สนิทในคุณแม่ตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ปากมดลูกหลวม หรือปิดไม่สนิท ไม่มีอาการเเสดงที่เด่นชัด แต่ส่วนมากพบว่า มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลด้วยอาการปวดหน่วงๆที่ท้องน้อย หรือบางราย แท้งบ่อยๆครั้ง และมีประวัติน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์ แพทย์จึงตรวจและวินิจฉัยได้
การรักษาภาวะปากมดลูกหลวม ปากมดลูกปิดไม่สนิทในคุณแม่ตั้งครรภ์
การรักษามีเพียงวิธีเดียวที่ได้ผลดี และเพื่อเป็นการพยุงครรภ์ให้ผ่านพ้นไปจนถึงกำหนดคลอด สูติแพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดเย็บปากมดลูก (Cervical cerclage) หลังจากตรวจพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะดังกล่าว แพทย์จะทำการนัดเพื่อเข้ารับการรักษาผ้าตัดเย็บปากมดลูกมื่ออายุครรภ์ 14-16 สัปดาห์ หลังผ่าตัดคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิตเนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะถุงน้ำคร่ำแตกได้ง่าย คุณแม่ที่ทำการผ่าตัดจำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 5 – 7 วัน หลังจากนั้นแพทย์จะให้กลับบ้านและรับประทานยาปฎิชีวนะต่อเนื่องจนแผลหายเป็นปกติ เมื่ออายุครรภ์ครบกำหนดคลอด คุณแม่ต้องไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อตัดปมไหมที่เย็บไว้ออกก่อน และสามารถคลอดได้ตามปกติในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ก็ต้องปฎิบัติเช่นเดิม และควรตั้งครรภ์ห่างกันอย่างน้อย 2 ปี เพื่อให้มดลูกมีความแข็งแรงสามารถพยุงครรภ์ครั้งต่อๆไปได้
อาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรใส่ใจให้มาก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน สำหรับภาวะปากมดลูกหลวมหรือ ปากมดลูกปิดไม่สนิทเป็นภัยเงียบ ในครรภ์แรกค่อนข้างเสี่ยงเนื่องจากอาการแสดง หรืออาการเตือนน้อยหากไม่มั่นใจให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนนะคะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. รีแพร์ช่องคลอด กระชับความฟิต
3. เนื้องอกในมดลูกขณะตั้งครรภ์
เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team
อ้างอิง :
1. Cervical cerclage.เข้าถึงได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Cervical_cerclage [สืบค้นเมื่อ 4 May 2015]
2. Cervical cerclage.เข้าถึงได้จาก http://www.surgeryencyclopedia.com/Ce-Fi/Cervical-Cerclage.html .[สืบค้นเมื่อ 4 May 2015]