ของเล่นเด็ก
ของเล่นเด็ก ไม่ใช่แค่วัตถุที่มีรูปทรงสวยงามและมีสีสันน่าเล่นเพื่อเอาใจเด็กให้สนุก มีความสุขกับการได้เล่นไปวันๆ เท่านั้น แต่หากเรารู้จักเลือกของเล่นให้ดี ของเล่นนั้นๆ ก็ย่อมกระตุ้นการเรียนรู้ เสริมทักษะให้เด็กมีพัฒนาการทางสมอง ความคิดและไอเดียสร้างสรรค์ในตัวได้เช่นกัน
ปัจจุบัน ของเล่นเด็ก ที่ผลิตออกจากโรงงานมักไม่ได้มาตรฐานคุณภาพหรือเป็นของเล่นที่อันตรายกับเด็กนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจเลือกของเล่นเด็กที่เหมาะสม ปลอดภัย เข้ากับวัยของเด็กและที่สำคัญจะต้องไม่มีพิษภัยแอบแฝง ว่าแต่ของเล่นที่แฝงด้วยอันตรายต่อเด็กมีประเภทไหนกันบ้าง ตาม Mamaexpert.com มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ
ลักษณะของเล่นเด็กที่อันตราย
1.ของเล่นเด็ก ที่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กๆ
ของเล่นประเภทนี้นับว่ามีอันตรายแฝงอยู่ไม่น้อย เพราะเนื่องจากชิ้นส่วนเล็กจึงทำให้เด็กมีโอกาสที่จะหยิบเข้าปากได้ ทำให้เกิดการสำลักและอุดตันในระบบทางเดินหายใจ
2.ของเล่นเด็ก ที่มีสันสวยสดใส
หากทางโรงงานผลิตไม่ได้นำสีที่ผ่านมาตรฐานด้านความปลอดภัยมาใช้ เมื่อเด็กนำไปเล่นก็อาจทำให้สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงได้นั่นเอง
3.ของเล่นเด็ก ที่ใช้ถ่านแบตเตอรี่ขนาดเล็กๆ
ของเล่นประเภทนี้จะมีสารประเภทกรดด่าง หากเด็กหยิบกลืนลงท้องไปมันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้
4.ของเล่นเด็ก ประเภทอาวุธสำหรับเด็กผู้ชาย
เป็นของเล่นที่จำลองเลียนแบบอาวุธปืนจริง เช่น ปืนอัดลมและปืนลูกดอกที่มีลูกกระสุนรุนแรงมากกว่า 0.8 จูล หากเด็กๆ เล็งยิงใส่กัน ลูกกระสุนอาจพุ่งถูกลูกนัยน์ตาของฝ่ายตรงข้ามจนบาดเจ็บและอาจหนักถึงขั้นตาบอดได้
5.ของเล่นเด็ก ที่มีความแหลมคม
เช่น ลูกข่างและรถเด็กเล่นที่มีส่วนท้ายแหลมๆ หรือโลหะที่มีรูปทรงความแหลมคมบางจุด เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายของเด็กๆ ได้เช่นกันค่ะ
6.ของเล่นเด็ก ที่มีเสียงดัง
โดยเสียงจะดังมากเกินกว่าค่าความปลอดภัยของเด็กที่กำหนดไว้ (เสียงดังมากกว่า 110 เดซิเบล ดังครั้งนึงจะไม่เกิน 1 วินาที หรือไม่เกิน 80 เดซิเบล หากมีเสียงดังต่อเนื่อง) เช่น รถไฟมีเสียง ปืนเลเซอร์กดแบบมีเสียงและปืนกล เป็นต้น
7.ของเล่นประเภทเคลื่อนได้
เช่น โรล์เลอร์เบรด รองเท้าสเก็ตที่เสี่ยงกับการไถลลื่นและรถจักรยานมีล้อ เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุข้อเท้าหลุดติดกับตัวล้อรถได้นั่นเอง
หลักการเลือกซื้อของเล่นเด็กเพื่อความปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อของเล่นที่มีลักษณะแหลมคม เปราะบางและแตกหักง่าย กรณีที่ต้องเลือกของเล่นที่มีสีสันควรเลือกประเภทที่ผลิตโดยใช้สีที่มีความปลอดภัย ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย
- ของเล่นสำหรับวันแบเบาะต้องปลอดสาร BPA สามารถนึ่ง ต้ม ได้
- สำหรับของเล่นที่ต้องใช้ถ่านแบตเตอรี่ขนาดเล็กเป็นหนึ่งในส่วนประกอบ ควรมีฝาครอบปิดเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ถ่านหลุดร่วง รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตราย เช่น การสวมสนับเข่า สนับศอกและสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่จะเล่นของเล่นประเภทเคลื่อนที่ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นของเล่นที่เสี่ยงอุบัติเหตุนั้นๆ ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เมื่อทราบกันแล้วว่าของเล่นประเภทใดบ้างที่เด็กเล่นแล้วมีความเสี่ยงในการเกิดอันตราย จากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้ความใส่ใจก่อนเลือกซื้อของเล่นทุกครั้ง ไม่เช่นนั้น.. ของเล่นบางประเภทก็อาจส่งผลร้ายต่อร่างกายลูกน้อยที่คุณรักอย่างไม่คาดฝันก็เป็นได้ค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ของเล่นเด็กวัยแบบเบาะ -12 เดือน แบบไหนดีแม่ต้องรู้
2. วิธีทำแป้งโดว์ ของเล่นเสริมพัฒนาการสุดฮิตของเด็กๆ
3. โมบายล์ ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team