ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
1. Human Chorionic Gonadotropin หรือ ฮอร์โมน hCG
หน้าที่ของฮอร์โมน hCG มีผลต่อการกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนตัวสำคัญที่จะต้องสร้างก็คือเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรนนั่นเอง เพราะฮอร์โมนส่วนใหญ่ของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นจะถูกสร้างจากรก ตอนแรกที่ไข่เริ่มมีการผสม รกยังไม่เจริญเต็มที่ จึงต้องมีฮอร์โมน hCG เพื่อไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ แต่พอรกเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว รกก็จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นแทนรังไข่ฮอร์โมน hCG ที่ ถูกสร้างมาเพื่อกระตุ้นรังไข่ก็เลยลดน้อยลงไปดังนั้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกเจริญเต็มที่แล้ว ถ้าทำการตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ก็อาจให้ผลลบได้ เนื่องจากฮอร์โมน hCG มีระดับต่ำลงนั่นเอง
ฮอร์โมน hCG เกี่ยวข้องและส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
- ฮอร์โมน hCG ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง อาเจียน เวียนศีรษะในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีระดับ ฮอร์โมน hCG สูง ทำให้แพ้ท้องมาก ถึงขั้นล้มหมอนอน เสื่อเลยก็มีค่ะ
- ฮอร์โมน hCG สูง อาจเกิดจากการตั้งครรภ์แฝด
- ฮอร์โมน hCG สูงอาจเกิดจาก ท้องนอกมดลูก
- ฮอร์โมน hCG สูง รกมีความผิดปกติ
- ฮอร์โมน hCG สูง อาจเกิดจากแม่ตั้งครรภ์ ไข่ปลาอุก
- ฮอร์โมน hCG ต่ำ สัมพันธ์กับ การเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ฮอร์โมน hCG ต่ำอาจเนื่องมาจากแม่อ้วน
2.ฮอร์โมน เอสโตรเจน ( Estrogen )
ฮอร์โมน เอสโตรเจนเป็นอีกหนึ่ง ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ ที่สำคัญคัญเพราะเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ถูกสร้างจากรังไข่เนื่องด้วยการ กระตุ้นจากฮอร์โมน hCG แต่เมื่อรกเจริญดีแล้ว เอสโตรเจนจะถูกสร้าง มาจากรกและต่อมหมวกไตของทารก
ฮอร์โมน Estrogen เกี่ยวข้องและส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
- เอสโตรเจนทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ ท้องอืด
- เอสโตรเจนทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ มีสีผิวเข้มขึ้น
- เอสโตรเจนเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ของคุณแม่ตั้งครรภ์
- เอสโตรเจนกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาตัวขึ้น เพื่อรองรับกับการฝังตัวของตัวอ่อน
- เอสโตรเจนช่วยให้มดลูกยืดขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับกัขนาดของทารกที่โตขึ้น
- เอสโตรเจน กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ไปหล่อเลี้ยงมดลูกเพื่อนำอาหารและออกซิเจนไปให้แก่ลูกในครรภ์
- เอสโตรเจน ช่วยให้มดลูกนุ่ม และ ยืดขยายในระยะคลอด
- เอสโตรเจน มีหน้าที่เตรียมความพร้อม สำหรับภารกิจหลังคลอดคือ ช่วยในการขยายเต้านมและท่อน้ำนมเพื่อเป็นแหล่งอาหารของลูกน้อย
3. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนที่สนับสนุนการตั้งครรภ์โดยตรงถ้าไม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน สร้างจากเพรกนิ โนโลน (pregnenolone) ซึ่งสร้างจาก คอเลสเทอรอล นอกจากสามารถ สร้างที่รังไข่ได้แล้ว ยังสามารถสร้างได้จากรก ต่อมอะดรีนัล คอร์เท็กซ์ และในอัณฑะอีกด้วย
ฮอร์โมนProgesterone เกี่ยวข้องและส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ถูกสร้างโดยรังไข่ และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างโดยรกเมื่อรกเจริญเต็มที่แล้ว
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ยับยั้งการหดตัว บีบตัวของมดลูก ขณะตั้งครรภ์ ป้องกันการแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนด
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้แม่ตั้งครรภ์ มีการสะสมไขมันมากขึ้นสำหรับใช้เป็นพลังงาน
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กระตุ้นให้ร่างกายปรับตัว หายใจเร็วขึ้น เพื่อเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ดีขึ้น
ฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิด ล้วนแล้วมีอิทธิพลต่อการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น หากเกิดการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการเปลี่ยนแปลงมากกว่าปกติ เช่น แพ้ท้องหนัก อาเจียนตลอดการตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ควรปรึกษากุมารแพทย์ เป็นการด่วนค่ะ
บทความแนะนำสำหรับแม่ตั้งครรภ์
1. การตรวจความผิดปกติหัวใจของทารกในครรภ์
เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team