อยากมีลูกแฝด
อยากมีลูกแฝด ลูกแฝดสั่งได้จริงหรือไม่
การที่มีลูกพร้อมๆกันหลายคนและยังมีหน้าตาเหมือนๆกัน ทำให้หลายๆคู่อยากมีลูกแฝดบ้าง แฝดมีทั้งแฝดแท้ แฝดเทียม คุณพ่อคุณแม่ทำความรู้จักลูกอย่างถ่องแท้ก่อนนะคะ แล้วทบทวนอีกทีว่าคุณอยากมีลูกแฝดจริงหรือ ปัจจุบันการมีลูกแฝดไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณสามารถมีลูกแฝดได้จาการผสมเทียม
แฝด หมายถึง คุณแม่ตั้งครรภ์มีตัวอ่อนอยู่ในครรภ์มากว่า 1 คนขึ้นไป ส่วนมากพบว่าเป็นแฝด 2 มีบ้าง แฝด3 แฝด4 แฝด5 แฝด6 ซึ่งครรภ์แฝด2นั้นมีอัตราการรอดชีวิตสุงสุดเมื่อแรกคลอด แฝดแบ่งออกเป็น
1.แฝดแท้ หรือแฝดร่วมไข่ ( Identical twins ) เกิดจากอสุจิ 1 ตัว ผสมกับไข่ใบเดียวกันแล้วแยกเซลล์ออกมาเป็น 2 ตัวอ่อน ส่วนมากทารกที่เกิดมาจะมีรูปร่างหน้าตา คล้ายคลึงกันมาก
2.แฝดเทียม( Fraternal twins) เกิดจากการผสมระหว่าง อสุจิ 2 ตัวกับไข่ 2ใบหรือมากกว่า ทารกจะมีรูปร่างหน้าตา แตกต่างกันรวมถึงส่วต่างๆของร่างกายก็แตกต่างกันไปด้วย ทางการแพทย์นำวิธีนี้ไปใช้ในการผสมเทียมให้เป็นแฝดขึ้น ได้แก่
- การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertilization( IVF ) คือการเอาไข่ 10-20 ใบ ออกมาผสมกับอสุจิในจานหรือในหลอดแก้ว พอผสมกันแล้วจะรู้เลยว่าจะมีการปฏิสนธิหรือไม่ แล้วก็ต้องเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงใส่กลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิง
- การทำซิฟท์ (Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT) คือการผสมกันระหว่างไข่กับอสุจิค้ลายการทำกิ๊ฟท์ แต่ต่างกันตรงที่ต่างจากการทำกิฟท์ตรงที่เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่
- การทำอิ๊คซี่ (IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI)เป็นการต่อยอดจากเด็กหลอดแก้ว โดยเอาเข็มที่มีเชื้อสเปิร์มอยู่หนึ่งตัวเจาะเข้าไปในไข่ เป็นการช่วยตัวเชื้อสเปิร์มที่ไม่แข็งแรง และไม่สามารถเจาะเข้าไปได้
- บลาสโตซิสท์ คัลเจอร์ (Blastocyst Culture) เป็นขั้นตอนเลี้ยงตัวอ่อนก่อนจะใส่กลับเข้าไปในมดลูก โดยจะเลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน ซึ่งวันที่ 3 ของการเลี้ยงจะเป็นระยะของการแตกเซลล์ วันที่ 5 จะเป็นระยะบลาสโตซิสท์ ซึ่งตัวอ่อนที่โตมาถึงระยะบลาสโตซิสท์จะมีคุณภาพดี
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์แฝด
1.พันธุ์กรรม ครอบครัวและเครือญาติเคยมีประวัติครรภ์แฝด หรือคู่สมรสเป็นฝาฝด
2.สีผิว และเชื้อชาติ ส่วนใหญ่พบว่าคนผิวดำสถิติตั้งครรภ์แฝดมากกว่าคนผิวขาว
3.อายุ ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนจากคุณแม่ ครรภ์แฝด และภาวะแทรกซ้อนของทารก
1. ขณะตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ
2. มีภาวะความดันโลหิตสูง
3. มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
4. เกิดภาวะรกเกาะต่ำ มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์
5. คลอดก่อนกำหนด
6. ทารกในครรภ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
7. ขณะคลอดทารกแฝดมีโอกาสถ่ายเทเลือดให้กันทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Twin twin transfusion syndrome ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกทั้งคู่
8. เสี่ยงต่อการเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ 1 คน หรือ เสียชีวิตทั้ง2คน
9. ทารกเจริญเติบโตต่างกัน 1ตนตัวโต อีกคนตัวเล็ก
10. ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูงกว่าครรภ์ปกติ
คุณพ่อคุณแม่ทราบข้อเสียของครรภ์แฝดแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ ยังอยากตั้งครรภ์แฝดหรือไม่ หากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แฝดอยู่ mamaexpert มีคำแนะนำในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ดังนี้ค่ะ
การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์แฝด
1. ฝากครรภ์ตามแพทย์นัดเพื่อตรวจหาภาวะเสี่ยงต่างๆอย่างละเอียดหากผิดนัดอยู่บ่อยๆทำให้แก้ไขยากเมื่อตรวจเจอภายหลัง
2. รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ น้ำหนักควรเพิ่ม 15-20 กิโลกรัมตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ 9 เดือน
3. พักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
4. ไม่ทำงานหนัก ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด
5. เคลื่อนไหวช้าลง เนื่องจากครรภ์แฝดท้องมีขนาดโตกว่าคุณแม่ครรภ์ปกติ จึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
โดยสรุปแล้ว การตั้งครรภ์แฝดนั้นไม่ยากเพราะวิทยาการทางการแพทย์ที่ช่วยให้คุณตั้งครรภ์แฝดได้สมดังใจ แต่การดูแลครรภ์แฝดของคุณให้สุขภาพแข็งแรงทั้งลูกน้อยและคุณแม่นั้น อาจไม่ง่ายอย่างที่คิด ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงความเสี่ยงต่างๆ ก่อนตั้งครรภ์แฝด
เรียบเรียงโดย : Mama Expert Editorial Team