กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5
การเลี้ยงลูกอย่างถูกหลัก นอกจากจะดูแลอย่างดีแล้ว การส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกเป็นไปตามวัยก้สำคัญเท่าๆกันค่ะ เด็กจะเรียนรู้และรับรู้สิ่งต่างๆจากผู้เลี้ยง หากไม่มีการกระตุ้นหรือเเสดงเป็นแบบอย่างให้เห็น เด็กก็ไม่มีการพัฒนาไปข้างหน้า การกระตุ้นพัฒนาการที่ดี เริ่มจากการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกน้อยวัยแรกเกิด - 1 ปี ตามนี้ค่ะ
.
.
การกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกน้อยวัยแรกเกิด -1 ปี
1. กระตุ้นการมองเห็น
โดยให้ลูกน้อยจ้องมองหน้าและสบตาแม่ คุณแม่ควรใช้เสียงเรียกลูกพร้อมกับมองไปที่ตาของลูกก่อน จนลูกน้อยสามารถจังจ้องตาของแม่ได้ ซึ่งหน้าแม่ควรห่างจากใบหน้าของลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้ลูกจ้องมอง และแม่ควรชวนลูกคุยทำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง เพื่อให้เด็กสามารถจับจ้องตาของแม่ได้นานๆ นอกจากนี้แม่อาจฝึกการมองตามของลูกโดยค่อยๆ เลื่อนตาของแม่ไปทางด้านข้างทีละน้อยตามแนวราบ หรือแขวนโมบายที่สามารถเคลื่อนไหวได้ช้าๆ ซึ่งสามารถฝึกการมองเห็นให้แก่ลูกน้อยได้เช่นกัน จนลูกน้อยเริ่มโตขึ้นอายุประมาณ 6 เดือน จึงฝึกโดยให้มองวัตถุชิ้นเล็กๆ เช่น ลูกเกดหรือของเล่นที่มีขนาดเล็ก แต่พ่อแม่ควรอยู่เล่นกับลูกด้วยเพราะในช่วงนี้ลูกน้อยสามารถหยิบของชิ้นเล็กที่ตกอยู่ตามพื้นมาเข้าปาก อาจเป็นอันตรายทำให้เกิดการสำลักตามมาได้
2. กระตุ้นการได้ยิน
ขณะที่คุณแม่อุ้มลูกน้อยแนบอกในเวลาให้นมจะเป็นการฝึกให้ลูกน้อยรับฟังเสียงเต้นของหัวใจแม่ หรือฝึกการได้ยินโดยผ่านการฟังเสียงทำนองดนตรีได้ พ่อแม่ควรพูดคุยเล่นเสียงกับลูกโดยทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ นุ่มนวลชวนฟัง เช่น เมื่อลูกน้อยอายุ 3 เดือน พ่อแม่ควรทำเสียงอืออา เพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยพูดสื่อสารเล่นเสียงตาม และเมื่อลูกน้อยเริ่มเล่นเสียงอ้อแอ้ก่อน แม่ควรเข้าไปคุยกับลูกเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยพูดเล่นเสีบงบ่อยๆ และเรียนรู้ทักษะการสื่อสารเบื้องต้น หรือเมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือน พ่อแม่ควรเล่นเสียงพยัญชนะกับลูกเช่น พูด “บา ปา มา จา วา” หรือฝึกให้ลูกเป่าน้ำลาย เดาะลิ้นตามพ่อแม่จะเป็นการฝึกทักษะการสื่อสารที่ซับซ้อนมากขึ้น
3. กระตุ้นการสัมผัสทางผิวหนัง
กระตุ้นการสัมผัสทางผิวหนัง โดยผ่านการอุ้ม กอด หรือการนวดสัมผัสร่างกาย
4. กระตุ้นการดมกลิ่น
กระตุ้นการดมกลิ่น โดยผ่านการได้กลิ่นตัวแม่ขณะอุ้มลูก ได้กลิ่นนมที่ลูกน้อยกำลังดูด
5. กระตุ้นการรับรส
กระตุ้นการรับรส โดยการฝึกการรับรสนมแม่หรือขณะเอาของเล่นชนิดต่างๆ เข้าปากหรือเมื่อให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมตอนอายุครบ 6 เดือน
หากคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและการกระตุ้น พัฒนาการของลูกด้านต่างๆอย่างเหมาะสมแล้ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูเเลลูกได้อย่างมั่นใจขึ้น นอกจาก 5 อย่างที่กล่าวมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมติดตามพัฒนาการด้านรางกายที่สำคัญ เช่น การขึ้นของฟัน น้ำหนัก ความยาว และเส้นรอบศีระษะด้วยนะคะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. เทคนิค 8 ข้อ ในการเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการสมวัย
2. บันทึกพัฒนาการเด็กคุณแม่ต้องทำ
3. พัฒนาการลูกน้อยสร้างง่ายๆ แต่ได้คุณภาพ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team