ความสูงของยอดมดลูกบอกอายุครรภ์และขนาดทารกในครรภ์

21 December 2016
107241 view

ความสูงของยอดมดลูก

ความสูงของยอดมดลูกกับ ขนาดทารกในครรภ์

เมื่อมีการตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถดูพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้จากการขยายตัวของมดลูก สูติแพทย์วัดความสูงของยอดมดลูกเพื่อประเมินขนาดทารกในครรภ์อย่างคร่าวๆหากพบว่า ขนาดทารกในครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับอายุครรภ์ แพทย์ อาจส่งตรวจอัลตราซาวด์เป็นลำดับต่อไปค่ะ อายุครรภ์ และขนาดยอดมดลูกปกติตามนี้

ความสูงของยอดมดลูกแต่ละช่วงอายุครรภ์

  • อายุครรภ์ 12 สัปดาห์  ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  1/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
  • อายุครรภ์ 16 สัปดาห์  ยอดมดลูกจะสูงประมาณ  2/3 เหนือกระดูกหัวหน่าว
  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ
  • อายุครรภ์ 24 สัปดาห์  ยอดมดลูกจะสูงกว่าระดับสะดือเล็กน้อย
  • อายุครรภ์ 28 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 1/4 เหนือระดับสะดือ
  • อายุครรภ์ 32 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 2/4 เหนือระดับสะดือ
  • อายุครรภ์ 36 สัปดาห์  ยอดมดลูกอยู่ 3/4 เหนือระดับสะดือ

 

ความสูงของยอดมดลูกกับ ขนาดทารกในครรภ์

ความสูงยอดของมดลูกบอกสุขภาพทารกในครรภ์ได้อย่างไร 

หากระดับยอดมดลูกไม่สัมพันธ์ตามที่กล่าวมา อยู่ต่ำกว่า อาจบ่งบอกได้ว่า ทารกในครรภ์มีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้

ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (Intrauterine growth restriction)  คืออะไร ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (ภาวะทารกโตช้าในครรภ์) ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Intrauterine growth restriction หรือ Intrauterine growth retardation ย่อว่า IUGR หมาย ถึง การที่ทารกในครรภ์ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพที่ควรจะเป็น ทารกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็นในอายุครรภนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่เจริญเติบโตปกติ ทารกกลุ่มนี้จะจัดว่าเป็นทารกที่มีขนาด/น้ำหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์จริง ซึ่งโดยทั่วไปใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวน้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ (Percentile) ที่ 10 ของอายุครรภ์นั้นๆ แต่ทารกที่น้ำหนักน้อยหรือตัวเล็ก ไม่ได้หมายความว่าจะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทั้งหมด ทารกที่พ่อและแม่ตัวเล็ก ทารกก็จะมีขนาดเล็กด้วย แม้ว่าจะเจริญเติบโตปกติ ทั้งนี้ ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบ่งเป็น 2 ประ เภท คือ

  1. ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (Symmetrical IUGR) ทารกกลุ่มนี้จะมีขนาดเล็กเหมือนเด็กตัวเล็ก (จากการวัดสัดส่วนจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น) ทั้งขนาดศีรษะ เส้นรอบท้อง และ/หรือความสูง สัดส่วนจึงไม่แตกต่างจากเด็กปกติที่ตัวเล็ก สาเหตุของกลุ่มนี้ มักเกิดจากความผิดปกติที่ตัวทารกเอง เช่น มีโครโมโซม (Chromosome) ผิดปกติ, การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ทำให้เซลล์ร่างกายไม่เจริญเติบโต เป็นต้น

  2. ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (Asymmetrical IUGR) พบความผิด ปกติชนิดนี้ได้บ่อยกว่าชนิดแรก การเติบโตช้าจะเกิดช่วงหลังๆของการตั้งครรภ์ เช่น มารดาช่วง แรกของการตั้งครรภ์ปกติดี ทารกก็เจริญเติบโตตามปกติ แต่เมื่อช่วงอายุครรภ์มากขึ้นหรือใกล้คลอด มารดาเกิดมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ การเจริญเติบ โตของทารกจึงไม่เต็มศักยภาพ ทำให้ตัวเล็ก ซึ่งเมื่อทำการตรวจท้องด้วยอัลตราซาวด์ ขนาดศีรษะทารกจะเป็นไปตามอายุครรภ์นั้นๆ แต่ขนาดของท้องทารกมักจะเล็กกว่าอายุครรภ์ที่แท้ จริง เนื่องจากร่างกายทารกมีการปรับตัวที่จะส่งอาหารไปยังส่วนที่สำคัญที่สุด คือ สมอง นั่นเอง

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. อายุครรภ์กับขนาดท้อง มีความสำคัญอย่างไร

2. ยาบำรุงครรภ์ เพื่อบำรุงลูกให้แข็งแรงไม่พิการ มีตัวไหนบ้าง

3. เทคนิคบำรุงครรภ์ กินอย่างไรให้น้ำหนักไปลงที่ลูก

 เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team