เมื่อพูดถึงการเจริญเติบโตของเด็กแล้ว พ่อแม่หลาย ๆ คนคงคิดว่าดูได้จากน้ำหนักและส่วนสูงใช่ไหมคะ แต่หากส่วนสูงไม่สอดคล้องกับน้ำหนักล่ะจะทำอย่างไรดี นับว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยใช่ไหมคะ และต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกได้ แต่จะส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร Mamaexpert มีคำตอบมาให้ค่ะ
ลูกรักน้ำหนักน้อยส่งผลต่อพัฒนาการอย่างไร
เคยได้ยินไหมคะว่าโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดี โดยเฉพาะในช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและสมอง หากขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ แน่นอนเลยว่าลูกๆ ต้องตัวเล็ก ผอม เตี้ย แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองอีกด้วย เช่น ทำให้สติปัญญาบกพร่อง เรียนรู้ช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบข้าง ทำให้พัฒนาการของลูกไม่เหมาะสมตามวัยค่ะ เอ๊ะ!!! แล้วแบบนี้จะทำอย่างไรดีล่ะ? Mamaexpert ขอบอกชัดๆ เลยว่าก่อนจะรู้วิธีแก้ ต้องมาแก้ที่สาเหตุก่อนเพื่อให้แก้ไขได้ตรงจุด ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ลูกน้ำหนักน้อย มีตามนี้ค่ะ
สาเหตุหลักที่ทำลูกน้ำหนักน้อย
สาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำหนักน้อย หลักที่พบได้บ่อย คือ
1. เรื่องของการได้สารอาหารไม่เพียงพอ อาจจะเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวเด็กเองหรือจากการเลี้ยงดู เช่น ลูกติดป้อนถ้าไม่ป้อนก็ไม่ยอมทาน, เด็กเลือกกิน อะไรที่ไม่ชอบก็จะไม่ยอมทานเด็ดขาด ติดขนมหวาน เพราะขนมหวานอร่อยกว่าข้าว
2. พันธุกรรม เช่น คุณพ่อคุณแม่ที่ตัวเล็ก การเจริญเติบโตของลูกก็อาจเป็นไปในทางเดียวกันได้
3. มีโรคประจำตัว หรือ คลอดก่อนกำหนด ซึ่งทำให้ตัวเล็กกว่าปกติ จำเป็นต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะโตทันเพื่อน เป็นต้น
เมื่อรู้สาเหตุที่ทำให้ลูกน้ำหนักน้อยไปแล้ว มารู้วิธีแก้ หรือเพิ่มน้ำหนักให้ลูกกันเลยค่ะ
วิธีเพิ่มน้ำหนักลูกรักให้สมวัย
1. พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายว่าเจ็บป่วย หรือ มีโรคประจำตัวที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตหรือไม่ ถ้าหากมีให้อยู่ในการดูแลของแพทย์
2. หากลูกเลือกกิน กินยาก ควรหลอกล่อลูก หาวิธีการป้อน หรือเปลี่ยนอาหารที่ลูกชอบสลับกันไป
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เช่น โปรตีนได้จาก เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว คาร์โบไฮเดรตได้จาก มันเทศ ข้าวกล้องซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของระบบประสาทและสมอง ผักใบสีเขียว สีเหลืองเป็นแหล่งรวมเกลือแร่และแร่ธาตุแก่ร่างกาย วิตามินได้จากการทานผลไม้ และไขมันที่ได้จากทั้งในพืชและในสัตว์ค่ะ ที่สำคัญต้องให้ลูกทานอาหารให้ครบทุกมื้อ และเสริมด้วยอาหารว่างระหว่างวัน เช่น อาหารว่างเช้า และบ่าย
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การเจริญเติบโตของเด็ก เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ใช่แค่การพัฒนาทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพัฒนาการทางด้านสมอง และการสร้างภูมิต้านทานโรคอีกด้วย อีกตัวช่วยหนึ่งที่จะเพิ่มพัฒนาการให้ลูกได้เติบโตสมวัยคือ การดื่มนม เพราะนม จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้ค่ะ แต่จะเลือกนมแบบไหนให้ลูกน้อยดีล่ะ ในเมื่อในท้องตลาดก็มีนมหลากหลายชนิด เชื่อว่า คุณพ่อ – คุณแม่ ต้องเคยได้ยินคำว่า “นมแม่ ดีที่สุด” ใช่ไหมคะ ใช่แล้วค่ะเราควรให้ลูกดื่มนมแม่นานที่สุด หากไม่สะดวกให้นมแม่ก็สามารถเลือกนมที่ใกล้เคียงนมแม่ให้ลูกดื่มได้เช่นกัน ซึ่งนมในท้องตลาดที่เป็นที่นิยมและมีประโยชน์ใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุดก็จะมี นมแพะ เพราะนมแพะมีกระบวนการสร้างน้ำนมแบบอะโพไครน์เหมือนกับนมแม่ จึงทำให้นมแพะมีสารอาหารจากธรรมชาติหรือเรียกว่า “ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์” ไม่ว่าจะเป็น ทอรีนช่วยให้การทำงานของจอประสาทตา นิวคลีโอไทด์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โพลีเอมีนส์ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารมีความสมบูรณ์ โกรทแฟคเตอร์ช่วยในการเจริญเติบโตที่สมวัย และที่ขาดไม่ได้เลยคือ ในนมแพะมีไขมัน MCT Oil ช่วยให้ร่างกายย่อยง่าย ได้พลังงานเร็วกว่านมทั่วไป ช่วยเด็กมีน้ำหนักตัวดีค่ะ
เห็นไหมคะว่า วิธีการเพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อยแบบสมวัยง่ายนิดเดียว “เพียงแค่เราใส่ใจ” และเลือกสิ่งดี ๆ ให้กับเจ้าตัวเล็กของเรา นมแพะ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ควรเสริมให้ลูกค่ะ เพียงเท่านี้แม่ ๆ นี้ก็หายกังวลใจเรื่องลูกน้ำหนักน้อย ไม่สมวัย ได้แล้วล่ะค่ะ แล้วกลับมาพบกับสาระดีๆ ในการเลี้ยงลูก เรื่องนมของลูก กับ Mamaexpert อีกนะคะ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
- กองโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางแก้ไขเด็กขาดสารอาหาร (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์/ เตี้ย/ ผอม) และกลุ่มเสี่ยงต่อการขาดอาหาร (น้ำหนักค่อนข้างน้อย/ค่อนข้างเตี้ย/ค่อนข้างผอม).เข้าถึงได้จาก http://k4ds.psu.ac.th/pp57/FileDownload/.[ค้นคว้าเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]
- ประโยชน์ของนมแพะ.เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/benefits-of-product/.[ค้นคว้าเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]
- มารู้จักนมแพะ.เข้าถึงได้จาก https://www.dgsmartmom.com/about-the-goat-milk/.[ค้นคว้าเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]
- โรงพยาบาลวิภาวดี. เมื่อลูก...น้ำหนักตัวขึ้นช้า.เข้าถึงได้จาก https://vibhavadi.com/health537.[ค้นคว้าเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]