น้ำหนักเด็กแรกเกิด - 12 เดือนควรขึ้นเดือนละกี่กรัม แม่ต้องเช็ก

22 November 2017
184563 view

น้ำหนักเด็กแรกเกิด

คุณแม่หลายคนเวลาเจอเด็กทารกคนอื่นที่รูปร่างอวบอ้วน จ้ำม้ำน่าหยิก น่ารักน่าชังซะจริง เมื่อเทียบกับลูกของตัวเอง ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ ก็อาจจะกังวลว่า ลูกของเรานั้นมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไปหรือเปล่า แอดมิน ขอแนะนำนะคะ อย่ากังวลไปเลยค่ะ โชคดีมากแล้ว ที่ลูกคุณแม่ไม่จ้ำม่ำเกินเกณฑ์

ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักเด็กแรกเกิดอยู่ในเกณฑ์ปกติ

นอกจากอาหารและโภชนาการแล้ว น้ำหนักของเด็กจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมกัน ได้แก่

  • สภาพแวดล้อมส่วผลน้ำหนักเด็กแรกเกิด

หากสถานที่ที่เด็กอาศัยอยู่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากเกินไปจนทำให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกายก็อาจทำให้เด็กมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปได้เช่นกัน

  • พันธุกรรมส่งงผลต่อน้ำหนักเด็กแรกเกิด

ครอบครัวที่มีลักษณะทางร่างกายที่อวบอ้วน มีแนวโน้มที่เด็กจะอ้วนตาม ซึ่งเกิดจากปัจจัยดังกล่าวก็เป็นไปได้ว่าเด็กอาจมีปัญหาสุขภาพที่ถ่ายทอดกันทางพันธุกรรมได้เช่นกัน

  • โรคและการใช้ยาส่งผลโดยตรงน้ำหนักเด็กแรกเกิด

อาการเจ็บป่วยบางอย่างและการใช้ยาบางชนิดส่งผลโดยตรงต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ปกครองจะต้องสังเกตอย่างใกล้ชิดและแจ้งต่อแพทย์ทันทีที่มีความผิดปกติ

น้ำหนักน้ำหนักเด็กแรกเกิดตามเกณฑ์

น้ำหนักน้ำหนักเด็กแรกเกิด ที่เหมาะสมกับ เด็ก 0 – 3 เดือน

ทารกเเรกคลอดอายุครรภ์ครบกำหนดจะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 3,000 กรัม (3 กิโลกรัม ) แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กเกิดมาแล้วมีน้ำหนักตัวถึง 4,000 กรัม ดังนั้นหากลูกของเรามีน้ำหนักตัวระหว่าง 3,000 – 4,000 กรัมก็ถือว่าเป็นปกติสำหรับเด็กแล้วค่ะ ไม่ต้องกังวลไป แต่หากลูกของเราเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยมากน้ำหนักตัวจะไม่ถึง 3,000 กรัม แต่ไม่ต้องห่วงค่ะ เมื่อเขาเติบโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็จะเพิ่มไวกว่าเด็กทั่วไปเช่นกันค่ะ

การขึ้นของน้ำหนักเมื่อลูกอายุ  3 เดือน

หลังจากแรกคลอดโดยเฉลี่ยจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 700 – 800 กรัมต่อเดือน ดังนั้นเมื่อลูกของเรามีอายุครบ 3 เดือน น้ำหนักตัวของลูกก็ควรจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 – 2,400 กรัม นับจากวันคลอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นร่วมด้วย

การขึ้นของน้ำหนักเมื่อลูกอายุ  4 – 6 เดือน

หนูน้อย วัย 4 – 6 เดือน ดื่มนมมากขึ้น น้ำหนักฌฉลี่ยควรขึ้นจากเดิม 500 – 600 กรัมต่อเดือน ซึ่งจะน้อยกว่าในช่วง 1 – 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปนะค่ะ แต่หากเด็กบางคนที่น้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์นี้ อย่าเพิ่งกังวลค่ะ สังเกตก่อนว่าป้อนอะไรลูกไปหรือเปล่า ทางการแพทย์แนะนำเริ่มอาหารเสริมเมื่อ 6 เดือนนะคะ

การขึ้นของน้ำหนักเมื่อลูกอายุ  7 – 9 เดือน

หนูน้อยวัย 7-9 เดือนในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 400 กรัมต่อเดือน อาจมีมากหรือน้อยกว่านี้นิดหน่อยค่ะ

การขึ้นของน้ำหนักเมื่อลูกอายุ 9 – 12 เดือน

หนูน้อยวัย 9 -12 น้ำหนักตัวที่เพิ่มในแต่ละเดือนจะลดลงอีก เหลือเพียงเดือนละประมาณ 300 กรัมต่อเดือนค่ะ อย่าตกใจนะคะ เพราะวัยนี้มีการเผาผลาญมากขึ้น ประกอบกับฟันเริ่มมงอก ไม่ค่อยรับประทานอาหาร เพราะปวดฟันค่ะ

การขึ้นของน้ำหนักเมื่อลูกอายุ  1 ขวบ ขึ้นไป

หนูน้อยวัย 12เดือน ช่วงนี้น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงเดือนละ 200 กรัม มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากหรือน้อยในแต่ละเดือนด้วยซึ่งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวนั้นบางครั้งอาจจะเพิ่มหรือลดเพราะมีปัจจัยอื่นที่ทำให้น้ำหนักตัวของลูกเปลี่ยนแปลง เช่น

  1.     ฟันกำลังจะขึ้น
  2.     ไม่สบายหรือมีอาการเจ็บป่วย
  3.     เพิ่งกินนมหรืออาหารเสร็จ
  4.     เพิ่งถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไป
  5.     ถอดหรือใส่เสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป

คุณแม่อย่ากังวลกับน้ำหนักของลูกจนเกินไปเพราะเด็ก มีย่อย การเผาผลาญ และการดูดซึมที่แตกต่างกัน  ขึ้นๆ ลงๆ ในบางเดือน แต่ถ้าลูกผอม หรืออ้วนมากจนเกินไปอาจมีความผิดปกติบางอย่างร่วมด้วย  ควรปรึกษากุมารแพทย์ค่ะ

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

1. อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก เทคนิคเด็ดที่คุณแม่ไม่ควรพลาด

2. สาเหตุที่ทำให้ลูกตัวเล็กกว่าเกณฑ์ น้ำหนักขึ้นช้า

3. กราฟน้ำหนักเด็กเทียบกับอายุ (Weight-for-age)

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team