สุดเศร้ากับเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอไป เกี่ยวกับพลเมืองดีท่านหนึ่ง ที่โดดทะเลสัตหีบช่วยชีวิตเด็ก 2 คน จนรอดชีวิต แต่สุดท้ายเขากลับจมหายไปในทะเล ต่างสร้างความเศร้าโศกแก่ภรรยา และญาติเป็นอย่างมาก รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นอย่างไรไปติดตามกันเลยค่ะ
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 22562 ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 16.00 น. เว็บไซซต์ข่าวไทยรัฐรายงานว่า ร.ต.อ.ทรงศักดิ์ คำกอง รองสารวัตรสอบสวน สภ.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ได้รับแจ้งมีคนจมน้ำที่ชายหาดนางรำ อ.สัตหีบ จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
นางสาวจิรานุช ธรรมเมืองคุณ อายุ 37 ปี ญาติผู้เสียชีวิต เล่าว่า นายวุฒิชัย เจริญธรรม ได้ลงไปช่วยเหลือเด็ก 2 ราย ที่กำลังจะจมน้ำ ทราบชื่อเด็กชายสิงหา หวังพลาย และเด็กหญิงสุธางรัตน์ หวังพลาย อายุ 15 ปีเท่ากัน ซึ่งสามารถช่วยชีวิตเด็กทั้งสองไว้ได้ แต่นายวุฒิชัยกลับจมหายไปในทะเล
จากการสอบถามเพิ่มเติมทราบว่า ขณะที่เด็กๆกำลังเล่นน้ำกับกลุ่มเพื่อน 5-6 คน มีคลื่นซัดมาทำให้เด็กทั้งสองถูกพัดออกจากชายฝั่ง เพื่อนๆจึงตะโกนขอความช่วยเหลือขณะนั้นผู้เสียชีวิตชาว อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้พาลูก และภรรยา รวมถึงญาติมาเที่ยวพักผ่อน เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวจึงตัดสินจกระโดดลงไปช่วยเด็กทั้งสองได้อย่างปลอดภัย แต่เคราะห์ร้ายมีคลื่นลูกใหญ่ซัดมาอีกครั้ง ทำให้ผู้เสียชีวิตพัดออกห่างจากฝั่ง แม้พยายามว่ายเข้ามาฝั่ง แต่หมดแรงทำให้จมหายในทะเลไปต่อหหน้าต่อตาผู้คนที่เอาใจช่วยบนฝั่ง ต่อมาเจ้าหน้าที่ประสานนักประดาน้ำ เพื่อออกค้นหาร่างผู้เสียชีวิต และพบร่างที่ใต้ทะเลลึกประมาณ 200 เมตร
กรณีการช่วยชีวิตคนจมน้ำ หลายครั้งเราพบเห็นเรื่องราวในลักษณะเดียวกัน ที่ผู้ช่วยมักจะกลายเป็นผู้โชคร้ายเสียชีวิต อาจเป็นเพราะหลายเหตุปัจจัยหลายอย่างทั้งกระแสคลื่นทะเล หรืออาการอ่อนเพลียของร่างกายของผู้เสียชีวิต ทำให้เกิดควาามสูญเสียครั้งนี้ขึ้น และวันนี้ Mamaexpert มีวิธี และข้อมูลการช่วยชีวิตคนจมน้ำที่ถูกวิธีมาฝากกัน ซึ่งมีหลักการง่าย ๆ อยู่ 4 วิธี ดังนี้
1.ยื่น ยื่นอุปกรณ์ให้คนตกน้ำจับ เช่น เสื้อผ้า เข็มขัด ท่อนไม้ ห่วง หรือไม้ตะขอ ใช้ในกรณีที่ระยะห่างระหว่างคนช่วยกับผู้ประสบเหตุไม่ไกลกันนัก
2.โยน อุปกรณ์อย่างห่วงยาง ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ ผู้ช่วยเหลือสามารถโยนให้ผู้ที่ตกน้ำยึดเกาะได้ โดยวิธีนี้จะมีความปลอดภัยต่อผู้ช่วยเหลือด้วย เพราะผู้ช่วยเหลือสามารถยืนอยู่บนฝั่ง หรือน้ำตื้นได้ ลดความเสี่ยงตกน้ำไปด้วย
3.พาย การใช้เรือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ออกไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ โดยพาหนะที่ใช้นั้นควรมีขนาดใหญ่พอสมควร ลอยน้ำได้ ไม่ชำรุด เช่น เรือพาย กระดานโต้คลื่น เรือใบ เจ็ตสกี เรือแคนู เรือกรรเชียง เรือใบ เป็นต้น ซึ่งควรจะนำอุปกรณ์ประเภทที่ใช้ยื่นหรือใช้โยนตามข้อข้างบนติดตัวไปด้วย เพราะเมื่อเข้าใกล้คนตกน้ำแล้ว เราจะได้ส่งอุปกรณ์เหล่านี้ไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงจะตกน้ำไปด้วยอีกคน
4.ลากพา ในกรณีที่ผู้ช่วยจำเป็นต้องลุยน้ำออกไปช่วย เราจึงจะใช้วิธีลากพาเอาผู้ประสบเหตุกลับมาขึ้นฝั่ง ซึ่งการลุยน้ำไปช่วยควรคำนึงถึงระดับน้ำ ความรุนแรงของน้ำ สถานที่ ปัจจัยแวดล้อม เช่น ต้องไม่ใช่แม่น้ำที่มีความลึกมาก กระแสน้ำแรง หรือคลื่นทะเลที่รุนแรงเกินไป รวมไปถึงผู้ช่วยก็ควรต้องนำอุปกรณ์ช่วยเหลือติดตัวไปด้วย เช่น เชือก ห่วงยาง โฟม หรือใส่เสื้อชูชีพ เพื่อจะโยนให้คนตกน้ำยึดเกาะ จากนั้นเราจึงลากเขาเข้าฝั่ง
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ครั้งนี้ขอยกย่องผู้เสียชีวิตที่มีความกล้า ลงไปช่วยชีวิตเด็กทั้งสองให้ปลอดภัย และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียครั้งนี้ด้วยค่ะ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น การช่วยชีวิตคนจมน้ำมีความเสี่ยงหากช่วยไม่ถูกวิธี ดังนั้นแล้ว 4 ข้อข้างต้นคงเป็นข้อมูลที่ดีสำหรับการปฏิบัติในการช่วยคนจมน้ำในกรณีฉุกเฉินได้ไม่มากก็น้อย หรือถ้าเด็กๆมีทักษะการว่ายน้ำก็ยิ่งดี ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนว่ายน้ำ สะดวกต่อการฝึกให้ลูกๆ ด้วยความห่วงใยจาก Mamaaexpert
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1.เด็กชาย 5 ขวบ หวิดดับวันสงกรานต์
2.เด็กชายป.2 อยากลองว่ายน้ำตามเพื่อนๆ จมน้ำดับ
3.ฝึกลูกว่ายน้ำอายุไหร่ดี และควรเลือกสระระบบน้ำแบบไหน?
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยรัฐ, สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ (THAI LIFE SAVING SOCIETY)