ปัสสาวะรดที่นอน
ต้องดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาปัสสาวะรดที่นอน ไม่ใช่ดื่มน้อยลง
เด็กๆ มักจะดื่มน้ำไม่พอในตอนกลางวัน เพราะห่วงเล่นมากเกินไป จนลืมดื่มน้ำ ทำให้บางครั้ง ก็ดื่มน้ำมากราวกับอูฐ แต่การดื่มน้ำที่มี คาเฟอีนและน้ำตาลผสมอยู่ด้วยนั้น กลับไม่ได้เพิ่มระดับน้ำที่ร่างกายต้องการได้เลย เพราะว่าคาเฟอีนนั้นนำไปสู่การปัสสาวะที่มากขั้น เป็นผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและกลับจะต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นวัฏจักรไป ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในตอนเย็นเมื่อเด็กกลับมาจากโรงเรียน เด็กจะหิวน้ำมากกว่าปกติ และจะดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะมาก ซึ่งจะไปขับถ่ายออกในตอนที่นอนหลับ
ปัญหาการปัสสาวะรดที่นอนเพราะเด็กดื่มน้ำเปล่าไม่เพียงพอในช่วงกลางวัน
เพราะฉะนั้นเด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนส่วนหนึ่ง คือเด็กที่ดื่มน้ำเปล่าไม่เพียงพอในช่วงกลางวัน ถ้าเด็กดื่มน้ำพอในช่วงกลางวัน เขาจะไม่ต้องการน้ำมากนักในตอนเย็น ซึ่งจะทำให้ไม่ขับถ่ายมากในตอนกลางคืน จึงไม่ค่อยเกิดปัญหาปัสสาวะรดที่นอน นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องพยายามให้เด็กดื่มน้ำเปล่ามากในช่วงกลางวัน อาจช่วยได้ด้วยการให้กะติกน้ำไปโรงเรียน
เมื่อไหร่จึงจะต้องเริ่มเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาการปัสสาวะรดที่นอนของลูก
ตำรา มักจะบอกว่าเด็กอายุ 3 ปีส่วนใหญ่ จะเริ่มกลั้นปัสสาวะในตอนนอนได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กยังปัสสาวะรดที่นอนอยู่อีกนานหลังจากอายุ 3 ปี ดังนั้น ถ้าลูกยังปัสสาวะรดที่นอนเมื่ออายุ 5 ขวบ เราต้องเริ่มกังวลไหม แล้วถ้า 8 ขวบล่ะ แล้วถ้าเป็นแค่เพียงบางครั้งบางคราวล่ะ นี่คือข้อเท็จจริงที่ช่วยคุณตัดสินใจได้
- เด็กประมาณ 15% ยังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่หลังอายุ 3 ปี ถึงแม้ว่าเด็กจะไม่ปัสสาวะราดในตอนกลางวัน แต่ยังเป็นเรื่องปกติที่เด็กอายุ 7 หรือ 8 ปียังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่เป็นครั้งคราว และประมาณ 15% ของเด็กอายุ 6 ปี ยังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่ และประมาณ 5% ของเด็กอายุ 10 ปีก็ยังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่เช่นกัน
- การปัสสาวะรดที่นอนเป็นกรรมพันธ์
- เด็กผู้ชายมักจะมีปัญหาปัสสาวะรดที่นอนมากกว่าผู้หญิง
- ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษาอาการปัสสาวะรด แต่เด็กจะเลิกไปเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
- เด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนส่วนมากไม่ได้มีปัญหาด้านอารมณ์ หรือจิตใจ
อายุเท่าไหร่ควรเลิกใช้แพมเพิสในเวลากลางคืน
คุณแม่ควรจะทำเมื่อคุณแม่พร้อมและตัวของลูกน้อยพร้อม แต่โดยส่วนใหญ่จะเริ่มฝึกที่อายุ 2 ขวบ คุณแม่ต้องให้ลูกเข้าใจเรื่องฉี่เรื่องอึก่อนคะ อาจจะเล่านิทานมีภาพการ์ตูนประกอบ ว่าเวลาขับถ่ายทุกคนก็ต้องไปห้องน้ำนั่งชักโครกหรือขับถ่ายใส่กระโถน บอกไปทุกวันก่อนจะฝึกจริงก่อนล่วงหน้า ดูคลิปการ์ตูนสอนขับถ่าย ควบคู่ไปกับการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
คุณแม่ไม่ควรที่จะบังคับหรือขู่เข็ญลูกให้นั่งกระโถน หรือเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย เมื่อถึงเวลาที่ลูกพร้อม ลูกจะนั่งถ่ายบนกระโถนหรือเข้าห้องน้ำเอง
แต่ ถ้าเด็กเลิกปัสสาวะรดที่นอนมานานแล้ว กลับมาเริ่มปัสสาวะรดที่นอนอีก ให้ลองหาสาเหตุที่อาจทำให้เขาเครียด หรือเขามีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์หรือไม่ เช่น การย้ายบ้านใหม่ ย้ายโรงเรียนใหม่ เปลี่ยนครู เปลี่ยนเพื่อน เป็นต้น แต่ก็อย่าลืมดูสาเหตุทางด้านร่างกายด้วย เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิง ซึ่งอาการมักจะมาพร้อมกับการปวดท้องน้อย และมีไข้
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
2. วิธีรับมือเมื่อลูกน้อยถ่ายยาก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team