นมโรงเรียนปลอดภัยไหม
เป็นประเด็นที่คุณพ่อคุณแม่ทุกบ้านต่างก็สงสัย แต่ไม่กล้าถาม เพราะเป็นเรื่องยากหากจะตรวจสอบ เพราะต้องใช้อุปกรณ์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งวันนี้ Mama Expert เปิดผลตรวจนมโรงเรียน-นมจืด! โดยนิตยสารฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาดูกันเลย
14 ตัวอย่างกลุ่มนมโรงเรียนจากภูมิภาคต่างๆ
ลำดับ | ชื่อโรงเรียน | ปริมาณ อะฟลาท็อกซินเอ็ม1 ( ไมโครกรัม ต่อ กิโลกรัม ) |
1 | รร.วัดราษฎร์นิยมธรรม (พิบูลสงคราม) กทม. เขตสายไหม | น้อยกว่า 0.03 |
2 | รร.วัดนางนอน (อนุบาลและประถม) กทม. เขตจอมทอง | น้อยกว่า 0.03 |
3 | รร.ต้นม่วง จ.พะเยา | น้อยกว่า 0.03 |
4 | รร.ชายเคือง จ.ฉะเชิงเทรา | น้อยกว่า 0.03 |
5 | รร.มหาไถ้ จ.ขอนแก่น | น้อยกว่า 0.03 |
6 | รร.ยุวศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี | น้อยกว่า 0.03 |
7 | รร.เทศบาล 2 จ.สงขลา | น้อยกว่า 0.03 |
8 | รร.วัดท่าเกวียน จ.ฉะเชิงเทรา | น้อยกว่า 0.03 |
9 | รร.วัดราชคฤห์ (วัดมอญ) กทม. เขตธนบุรี | น้อยกว่า 0.03 |
10 | รร.วัดชนะสงคราม กทม. เขตพระนคร | น้อยกว่า 0.03 |
11 | รร.วัดมะพร้าวเตี้ย กทม.เขตภาษีเจริญ | น้อยกว่า 0.03 |
12 | รร.บ้านแบนชะโด กทม. เขตคลองสามวา | น้อยกว่า 0.03 |
13 | รร.วัดไทรน้อย จ. อยุธยา ยูเอสที | น้อยกว่า 0.03 |
14 | รร.วัดไทรน้อย จ. อยุธยา พาสเจอร์ไรด์ | น้อยกว่า 0.03 |
ทั้ง 14 ตัวอย่าง พบมีทุกตัวอย่างแต่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คืออะฟลาท็อกซินเอ็ม1 น้อยกว่า 0.03 นอกจากนั้นยังเก็บตัวอย่างนมประเภทรสนมธรรมชาติจากร้านค้าปลีก อีก13กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
กลุ่มนมรสธรรมชาติจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้อจำนวน 13 ตัวอย่าง ได้แก่
ลำดับ | ชื่อโรงเรียน | ปริมาณ อะฟลาท็อกซินเอ็ม1 (ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม ) |
1 | โฟร์โมสต์ ประเภทยูเอชที | 0.08 |
2 | ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทยูเอชที | 0.05 |
3 | ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทยูเอชที | 0.04 |
4 | ดัชมิลล์ ซีเล็คเต็ด ประเภทพาสเจอร์ไรส์ | 0.04 |
5 | ฟาร์มโชคชัย ประเภทพาสเจอร์ไรส์ | น้อยกว่า 0.03 |
6 | โฟร์โมสต์ ประเภทพาสเจอร์ไรส์ | น้อยกว่า 0.03 |
7 | เอ็มมิลค์ ประเภทพาสเจอร์ไรส์ | น้อยกว่า 0.03 |
8 | ฟาร์มโชคชัย ประเภทยูเอชที | น้อยกว่า 0.03 |
9 | เอ็มมิลค์ ประเภทยูเอชที | น้อยกว่า 0.03 |
10 | ไทย-เดนมาร์ค ประเภทยูเอชที | น้อยกว่า 0.03 |
11 | วาริช (โครงการพระราชดำริ) ประเภทยูเอชที |
น้อยกว่า 0.03 |
12 | หนองโพ ประเภทยูเอชที | น้อยกว่า 0.03 |
13 | เนสท์เล่ ตราหมี | น้อยกว่า 0.03 |
ประเภทสเตอริไลส์พบทุกตัวอย่างมีสารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินเอ็มวันสูงสุด 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และต่ำสุดที่น้อยกว่า 0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529) กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20 ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และมาตรฐานโคเด็กซ์ (CODEX) กำหนดให้ไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่แต่ละบ้านวางใจแล้วใช่ไหมคะว่า นมที่ลูกดื่มนั้นผ่านมาตรฐาน คุณพ่อคุณแม่ควรตรวจเช็ค ใส่ใจในการได้รับนมของลูกในทุกช่วงวัย ทั้งนี้ สารพิษจากเชื้อราอะฟลาทอกซินเอ็มวัน พบได้ในน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม จัดเป็นสารพิษธรรมชาติที่ร้ายแรงต่อมนุษย์ เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัมสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้หากได้รับอย่างต่อเนื่อง
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. นมแม่ไม่มีแล้ว …เลือกนมให้ลูกอย่างไรดี
2. นมถั่วเหลืองยูเอชทีให้คุณค่าสารอาหารเพียงพอหรือไม่
3. ไขปัญหาคาใจแม่ นมกล่องUHT
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล : ฉลาดซื้อ นิยสารออนไลน์