วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ
การติดเชื้อฮิบ พบบ่อยในเด็กเล็กหากคุณแม่ตัดสินใจที่จะฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบควรทำให้เร็ว เพื่อที่จะได้ป้องกันลูกน้อยในช่วงที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อฮิบ
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบคืออะไร
เชื้อฮิบ เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อเต็มว่า ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนเซ่ ชนิดทัยป์ บี ที่มักก่อโรคในเด็กเล็ก โดยเฉพาะที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ทำให้เกิดโรคที่สำคัญหลายอย่าง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดอับเสบ ข้ออักเสบและหูชั้นกลางอักเสบ อัตราการเกิดโรครุนแรงจากเชื้อฮิบในเด็กไทยประมาณ 3 รายต่อเด็กแสนคน
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบใครบ้างต้องฉีด
เด็กทุกคนต้องฉีดเพื่อลดความเสี่ยงจากเชื้อฮิบ การฉีดจะเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 6-12 เดือน
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบฉีดอย่างไร
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มล. แนะนำให้ฉีดเมื่ออายุ 2,4 และ 6 เดือน
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบมีผลข้างเคียงอย่างไร
- มีอาการปวด บวม แดงและร้อยบริเวณที่ฉีด
- พบไข้ขึ้นสูง ผื่น
- บ้างครั้งอาจมีอาการหงุดหงิดได้
แต่ถ้าหากฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน นั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเพิ่มขึ้น
ใครบ้างที่ไม่สามารถฉัดวัคซีนป้องกันเชื้อฮิบได้
- ผู้ที่เคยมีปฏิกิริยารุนแรงต่อวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อฮิบ ไม่ควรรับวัคซีนซ้ำอีก
- หากมีไข้หรือเจ็บป่วยควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบราคาเท่าไหร่
วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบโดยส่วนใหญ่แล้วจะฉีดรวมกับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-โปลิโอชนิดฉีด ในราคาตั้งแต่ 1000-5000 บาท ในโรงพยาบาลของรัฐบาลและเอกชนมีราคาที่ไม่ต่างกันมาก
หมายเหตุ : ราคานี้ยังไม่รวมค่าแพทย์นะค่ะ
เนื่องจากโรคฮิบในประเทศไทยมีค่อนข้างต่ำประกอบกับวัคซีนมีราคาสูง ปัจจุบันจึงยังไม่ได้บรรจุเป็นวัคซีนพื้นฐานในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ แต่จัดเป็นวัคซีนเผื่อเลือก แนะนำสำหรับเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อฮิบ เช่น เด็กที่ต้องเลี้ยงดูในสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือจำเป็นที่ต้องไปในสถานชุมชนที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น และอาจพิจารณาสำหรับเด็กที่ผู้ปกครองสามารถซื้อวัคซีนได้ ห้ามฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
2. อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน
3. วัคซีนเสริม
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง
- วัคซีน...น่ารู้.สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/OK%20COM/Downloads/[jCMS]-371_pidst_20100423101913_filekhow.pdf. [ค้นคว้าเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560].
- สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุข.เข้าถึงได้จาก http://pidst.or.th/userfiles/64_%20การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในประเทศไทย.pdf. [ค้นคว้าเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560].