ครรภ์เป็นพิษ
คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุครรภ์ต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอยู่เสมอ โดยเฉพาะไตรมาสที่สองเป็นต้นไปอาจพบภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิตแม่และลูกได้ วันนี้ Mamaexpert ชวนคุณแม่มาทำความรู้จักภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง "ครรภ์เป็นพิษ " กันค่ะ
6 ข้อควรรู้เกี่ยวกับครรภ์เป็นพิษ
ทุกครั้งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไปพบแพย์จะมีการตรวจเช็คความดันโลหิตค่าที่สูงขึ้นอาจบ่งชี้ความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ ทางการแพทย์เรียกว่า ครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia)หรือพิษแห่งครรภ์ หรือ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์มาทำความรู้จักกับ 6 ข้อควรรู้ ครรภ์เป็นพิษ เพื่อดูแลตนเองให้ห่างไกลจาก โรคร้ายนี้
1. ครรภ์เป็นพิษ ก่อเกิดความสูญเสียสูงสุด
ครรภ์เป็นพิษพบได้ ร้อยละ4 ของแม่ตั้งครรภ์ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหรือพิการอันดับต้น ๆ ของแม่ตั้งครรภ์
2. ครรภ์เป็นพิษมีสาเหตุของโรคไม่ทราบแน่ชัด
จากการศึกษาทางการแพทย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า แท้จริงแล้วอาการครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้นได้อย่างไร อะไร เป็นสาเหตุที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่แพทย์ต้องศึกษากันต่อไป
3. อาการแรกเริ่มที่บ่งบอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเป็นโรค ครรภ์เป็นพิษ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจทางร่างกายเป็นตัววินิจฉัยโรค ได้แก่ การตรวจเช็คความดันโลหิตในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป หากพบว่า แม่ท้องเริ่มมีความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไปและมีโปรตีนรั่วออกมาจากปัสสาวะ คุณจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง !!!
4. ครรภ์เป็นพิษอันตรายต่อชีวิต อย่ามองข้ามอาการเบื้องต้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการครรภ์เป็นพิษ จะมีความผิดปกติในระบบหลอดเลือดทั่วร่างกาย อาการแสดงที่พบหรือดูด้วยตาเปล่าได้ชัดก็คือ ตัวแม่ท้องจะบวม หากอาการรุนแรงสมองจะบวม ชัก และอาจพบเส้นเลือดในสมองแตกได้
5. ครรภ์เป็นพิษส่งผลต่อชีวิตลูก
ทารกในครรภ์ที่แม่มีอาการครรภ์เป็นพิษแรกคลอดน้ำหนักตัวจะน้อย รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือ ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์
6.ครรภ์เป็นพิษส่งผลต่อแม่หลังคลอด
ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดว่าอันตรายแล้ว หลังคลอด คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษจะยังไม่ปลอดภัย เพราะยังมีความเสี่ยงต่อการตกเลือด หัวใจวาย น้ำท่วมปอดได้ง่ายกว่าปกติด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว Mamaexpert หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกบ้าน จะใส่ใจ หมั่นสังเกตอาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ให้มากขึ้น รวมถึงบำรุงครรภ์อย่างถูกวิธี เพื่อลูกน้อยในครรภ์สุขภาพดีห่างไกลภาวะแทรกซ้อน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ภาวะแท้งคุมคาม คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกต้องระวัง
2. แม่ตั้งครรภ์ออกกำลังกายแบบไหน ปลอดภัยไม่แท้ง
3. แม่ท้องกลั้นปัสสาวะเสี่ยงแท้งต่อการติดเชื้อ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
1. ผศ.ดร.อรกัญญ์ ภูมิโครักษ์ใ(2555) .คู่มือการตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่หน้า22 .กรุงเทพ ; สำนักพิพ์เอ็มไอเอส.
2.Pre-eclampsia.เข้าถึงได้โดย Pre-eclampsia/wiki/Pre-eclampsia. [ค้นคว้าเมื่อ 29 พฤศจิกายนน2560].
3.Preeclampsia. เข้าถึงได้โดย https://www.babycenter.com/0_preeclampsia_257.bc [ค้นคว้าเมื่อ 29 พฤศจิกายนน2560].