สูงเกินวัย
พ่อแม่หลายคนอาจมีความกังวลว่า ลูกเราตัวเล็กไปไหมเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน จะรู้ได้อย่างไรว่า ความสูงแบบไหนที่เรียกว่าลูกกำลังผิดปกติ
ลูกสูงเกินวัยหรือไม่ เช็คได้จาก 5ข้อนี้
ตัวเล็กเมื่อเทียบกับเพื่อน เช่น เข้าแถวที่โรงเรียนแล้วอยู่หน้าสุด
ตัวเล็กเมื่อเทียบกับพี่น้องด้วยกัน เช่น น้องอายุน้อยกว่าแต่ตัวโตกว่าพี่แล้ว
ตัวเล็กเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน เช่น ลูกพี่ ลูกน้อง เพื่อนข้างบ้าน ที่อายุเท่ากัน ยังสูงกว่า
ไม่สูงขึ้นเลยในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา
พ่อแม่สูง แต่ลูกตัวเล็ก
หากเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ถือว่าผิดปกติ และควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่ทราบความสูงของลูกสามารถนำความสูงมาเทียบกับตารางอายุ หรือกราฟการเจริญเติบโต อย่างที่คุณหมอได้เขียนอธิบายในบทก่อนหน้านี้ถ้าพบว่า ความสูงของลูกต่ำกว่าเกณฑ์ตามอายุ หรือได้หมายเลขเปอร์เซ็นไทล์ต่ำกว่า 3 ก็ถือว่าผิดปกติเช่นกัน สาเหตุอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ โตช้า หรือมีปัญหาขาดฮอร์โมน
ลูกสูงเกินวัย อย่าชะล่าใจว่าดีแล้ว
จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ตัวเตี้ยอย่างเดียวที่ผิดปกติ หากพบว่าลูกเราสูงเกินไป หรือได้หมายเลขเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 97 ก็ถือว่าผิดปกติเช่นกัน และอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงบางชนิด ได้แก่เนื้องอกในสมอง หรือมีต่อมเพศทำงานมากเกิน เด็กอาจจะดูสูงเร็วเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ทำให้พ่อแม่หลายคนชะล่าใจ ไม่ได้พาลูกไปตรวจ หลงดีใจที่ลูกสูงกว่าเพื่อน แต่ข้อเสียคือ เด็กอาจหยุดโตเร็วกว่าเด็กคนอื่น สุดท้ายกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เตี้ย ไม่ว่าลูกจะ “ตัวเล็กไป” หรือ “โตมากเกิน” ถือว่าเป็นความผิดปกติทั้งนั้น แนะนำให้พบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไปค่ะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ความสูงลูกตกเกณฑ์ เพราะฮอร์โมนบกพร่อง
2. เคล็ดลับช่วยเพิ่มความสูงตามวัยให้กับลูกที่แม่ไม่ควรพลาด!!!
3. Applicationประเมินความสูงเด็กสำหรับคุณแม่
เรียบเรืยงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :
แพทย์หญิงกัลย์สุดา อริยะวัตรกุล.ทำไมหนูสูงไม่ถึ