หากมีน้ำเดินก่อนกำหนดจริง จะต้องทำอย่างไรบ้าง?

21 June 2012
1751 view

น้ำเดิน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ น้ำเดินc,j9yh'8ii4N

น้ำเดิน หรือ ที่ทางการเเพทย์เรียกว่าน้ำคร่ำ ถ้ารั่ว ก่อนเวลากำหนด ย่อมส่งผลโดยตรงต่อทารกในครรภ์ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุครรภ์นั้น มีวิธีการรักษาแตกต่างกันดังต่อไปนี้ค่ะ

หากมีน้ำเดินก่อนกำหนดจริงจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ในการรักษาหรือดูผู้ที่มีน้ำเดินก่อนกำหนดจะต้องดูอายุครรภ์ว่าตั้งครรภ์กี่สัปดาห์ เพราะอายุครรภ์จะบอกว่าเด็กโตพอที่จะคลอดออกมาแล้วมีชีวิต

ผู้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์

โดยปกติผู้ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาหฺ์และมีน้ำเดินก่อนกำหนด มักจะคลอดภายใน 1 สัปดาห์ เด็กที่คลอดมามักจะมีความผิดปกติของ โรคปอด การพัฒนาของสมอง มีพิการของสมอง ทำให้เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า Potter’s syndrome

ผู้ที่มีอายุครรภ์อายุ 24-31 สัปดาห์

ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 32 สัปดาห์มักจะมีความพิการ หรืออาจจะเสียชีวิต ดังนั้นหากมีน้ำเดินก่อนกำหนดในช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว แพทย์จะพยายามให้อายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์จึงจะให้คลอด แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ยา steriod เพื่อเร่งให้ปอดเด็กแข็งแรง ระหว่างนี้แพทย์จะเฝ้าระวังดังต่อไปนี้

  • ติดตามเรื่องไข้หากคุณแม่มีไข้มากกว่า 38 องศาแพทย์จะเร่งให้คลอดเพราะว่านั่นหมายถึงมีการติดเชื้อของมดลูก
  • ติดตามการเต้นของหัวใจแม่และเด็ก หากหัวใจเด็กเต้นเร็วหรือช้า แสดงว่าเด็กเริ่มจะมีปัญหาจำเป้นต้องเร่งคลอด
  • การบีบตัวของมดลูก
  • อาการปวดท้องของคุณแม่ หากปวดมากขึ้นแสดงว่าอาจจะมีปัญหา
  • เจาะเลือดคุณแม่เป็นระยะว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

หากมีอาการต่อไปนี้ควรจะเร่งการคลอด

  • มีการติดเชื้อของมดลูก chorioamnionitis
  • รกลอกตัว
  • เด็กมีสัญญาณชีพไม่ปกติ

ผู้ที่มีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์

เด็กอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ซึ่งปอดเริ่มจะแข็งแรงสามารถคลอดออกมาได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องเจาะเอาน้ำคล่ำมาพิสูจน์ว่าปอดเด็กแข็งแรงพอ ดังนั้นเด็กในกลุ่มนี้สามารถคลอดออกมาได้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้เจาะน้ำคล่ำว่าปอดแข็งแรงพอหรือไม่ แนะนำว่าให้ยา steroid และยาปฏิชีวนะ 48 ชมแล้วจึงไปคลอด

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไป

หากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ขึ้นไปแพทย์จะแนะนำให้เร่งคลอดเพราะหากไม่เร่งจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

  • No tag available