เด็กยุคอัลฟ่า เป็นอย่างไร
เด็กยุคอัลฟ่า หรือเด็ก ยุคเจเนอเรชัน อัลฟา คือ เด็กที่เกิดช่วง พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ซึ่งเติบโตมากับเทคโนโลยี ชีวิตประจำวันของเด็กกลุ่มนี้จะถูกรายล้อมไปด้วย สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเด็กยุคดังกล่าว จากการสำรวจคุณภาพเด็กปฐมวัยไทย ของกรมอนามัยปี 2557 (1) พบว่า ปัญหาที่พบในเด็กปฐมวัย (อายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ) คือเรื่องพัฒนาการที่ไม่สมวัย อีกทั้งความฉลาดด้านสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ก็ลดลงจากเดิม การเติบโตมากับเทคโนโลยีทำให้ในแต่ละวันของเด็กๆใช้เวลาอยู่กับเทคโนโลยี การอยู่กับที่จึงมากขึ้น เคลื่อนไหวน้อยลง เรียนรู้พฤติกรรมบางอย่างจากโลกมายา ที่นำเสนอผ่านสื่อนั้นๆได้อย่างง่ายดาย ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกอยู่ไม่น้อย เช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ขาดทักษะการสื่อสาร การเข้าสังคม และขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
พ่อแม่ปลูกฝังประสบการณ์จริง ช่วยปลดล็อคศักยภาพเด็กยุคอัลฟ่า
เพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เด็กไม่อาจหลีกเลี่ยงจากสื่อหรือเทคโนโลยีได้ บทบาทสำคัญของคุณพ่อคุณแม่ คือ การสอนลูกยุคอัลฟ่าให้เลือกรับสื่ออย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ลูกสร้างประสบการณ์จริงผ่านการลงมือทำกิจกรรม เพื่อปลดล็อคศักยภาพของลูก ซึ่งก่อนที่ลูกจะสามารถเรียนรู้เทคนิคการใช้ประสบการจริง โดยการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องแน่ใจก่อนว่า พัฒนาการทั้ง 3 ด้านสำคัญของลูกพร้อมแล้ว ได้แก่ สมอง ร่างกาย และภูมิคุ้มกัน
ด้านสมอง
เพื่อให้ลูกน้อยสามารถรู้คิด ทันเหตุการณ์ แก้ไขปัญหาต่างๆได้ พ่อแม่ต้องมั่นใจว่าลูกได้พัฒนาทักษะที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาสมองอย่างเต็มที่ อาจารย์ดร.วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการทํางานของสมองว่า สมองจะถูกพัฒนาในช่วงวัยแรกเกิด – 6 ปี โดยเครือข่ายใยประสาทจะถูกสร้างและเชื่อมต่อกันอย่างเต็มที่ที่สุด เมื่อเด็กได้รับการกระตุ้นให้พัฒนาทักษะผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 อย่างสม่ำเสมอ หากทักษะใดไม่ได้ใช้ก็จะถูกกําจัดออกไป เพื่อการพัฒนาสมองอย่างเต็มศักยภาพ พ่อแม่ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่ช่วยพัฒนาสมอง ได้แก่ DHA เพราะ DHA จะช่วยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายใยประสาท เมื่อทำงานร่วมกับการเรียนรู้ดังกล่าว สมองของลูกจะถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ นอกจากนี้วิตามิน B6 วิตามิน 12 โฟเลต และไอโอดีน มีส่วนสำคัญในการช่วยควบคุมการทำงานของสมองกระตุ้นระบบประสาท และการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท
ด้านร่างกาย
เพื่อให้ลูกน้อยสามารถเรียน เล่น ลงมือทำอย่างเต็มที่และสนุกสนาน เด็กต้องมีพัฒนาการทางร่างกายอย่างเหมาะสม มีความแข็งแรง และเติบโตสมวัย พ่อแม่จึงต้องดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่เสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อ เด็กควรได้รับแคลเซียมและวิตามินดี ที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กระดูก วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี การมีวิตามินดีต่ำมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ คนที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำ จะมีความจำและการทำงานของสมองด้านการจัดการด้อยกว่า (5 ) ส่วนโปรตีน ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ด้านภูมิคุ้มกัน
เพื่อให้พ่อแม่มั่นใจได้ว่า ลูกพร้อมที่จะออกไปเผชิญโลกกว้างร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ลูกน้อยต้องแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย และสามารถต้านทานโรคมีภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม ซึ่งวิตามิน A ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน วิตามิน E เป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวป้องกันเชื้อโรค และวิตามิน C ช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นหวัดได้
จะส่งเสริมลูกยุคอัลฟ่าให้ใช้ประสบการณ์จริงโดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร mamaexpert มีกิจกรรมดีๆจาก โฟร์โมสต์ โอเมก้า โกลด์ มาฝาก เพื่อคุณแม่ทุกคนได้นำไปประยุกต์ใช้กับหนูน้อยยุคอัลฟ่าอย่างสนุกสนาน ดังนี้
กิจกรรม เปลี่ยนวันหยุดให้เป็นวันเรียนรู้ท่องเที่ยวสนุกไปกับ GPS
วางแผนการเดินทางกับลูกก่อนออกเดินทางโดยใช้ GPS หรือ Google Map สอนให้ลูกดูแผนที่เป็น และอธิบายจุดสังเกตุระหว่างทางไปด้วย โดยระหว่างทางให้ลูกทำหน้าที่เป็น navigator ส่วนตัวและไกด์ตัวจิ๋ว ให้เด็กหาความรู้ของสถานที่ที่จะไป และเป็นคนแนะนำสถานที่ต่างๆ คุณจะเห็นว่าเค้าภูมิใจในตัวเค้าเองมากน้อยแค่ไหน
กิจกรรม ทำขนมง่ายๆตามคลิปใน Blog ชื่อดัง
เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกันทั้งพ่อแม่ลูก ลองเปิดคลิปทำขนมที่ชอบ แล้วช่วยกันทำกับลูกน้อย ทำเสร็จก็ลองโพสต์แล้วแชร์ดู แค่นี้ก็ทั้งสนุกและภูมิใจอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.foremostomega.com
ใหม่! โฟร์โมสต์ โอเมก้า โกล์ด คิดค้นพัฒนาสูตรโดย สถาบันวิจัย ฟรีสแลนด์คัมพิน่าเนเธอร์แลนด์ สูตร ทริปเปิ้ล โปรพลัส และ DHA ที่สูงถึง 5 เท่า เพื่อพัฒนาการทั้ง 3 ด้านของลูกน้อย
(1) สานพลังร่วมสร้างสุขภาวะเด็กปฐมวัย: ปฐมวัย…คุณภาพที่สร้างได้. ไทยโพสต์ (23 ส.ค.2558)
(2) John Dewey. Democracy and Education: An Introduction to the Philosophy of Education. 1997
(3) How to Play with Children(ออนไลน์). Women’s and Children’s Health Network
(4) Tom Vasich. Brain development suffers from lack of fish oil fatty acids,UCI study finds (ออนไลน์). 2015. Available from : https://news.uci.edu/research/brain- development-suffers-from-lack-of-fish-oil-fatty-acids-uci-study-finds/ (2015} April 15)
(5) Joshua W. Miller, PhD. Vitamin D Status and Rates of Cognitive Decline in aMultiethnic Cohort of Older Adults. JAMA Neurology (ออนไลน์). 2015. Available from : http://archneur.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=2436596 (2015,November)