มะเร็งเต้านม
สถิติมะเร็งเต้านม พบมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งรังไข่ เมื่อเป็นแล้วโอกาสหายนั้นมีแต่ ต้องตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียเต้านมเพื่อป้องกันชิวิตไว้ค่อนข้างสูงเช่นกัน เต้านมนับเป้นอวัยวะที่ผู้หญิงหวงเเหนมากที่สุด เราจะมำอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านม ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ลึกรูจริงเพื่อรับมือกับมะเร็งเต้านม ดังนี้ค่ะ
ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมจริงเท็จแค่ไหน
ไม่ใช่เฉพาะผู้หญิง ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่ โอกาสพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและพบมากในผู้หญิงสูงอายุมากกว่าวัยรุ่น
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร
ทางการแพทย์ยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่จากการศึกษา พบว่าพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง และ กรรมพันธ์มะเร็ง มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วๆไป
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อการเกิดมะเร็งเต้านมคือ
- อายุที่มากขึ้น
- เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
- ญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- เป็นโรคกรรมพันธุ์บางชนิด
- เคยมีก้อนเต้านมที่ผลทางพยาธิแปลก ๆ
- การมีบุตรหลังอายุ 30 ปี
- การมีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี
- การหมดประจำเดือนช้า หลังอายุ 55 ปี
- การไม่มีบุตร
- การได้รับฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน ๆ
อาการเเสดงแรกเริ่มของมะเร็งเต้านม
อาการสำคัญของโรคมะเร็งเต้านมทั้งในผู้หญิงและในผู้ชายคือ คลำได้ก้อนเนื้อในเต้านม มักเกิดเพียงข้างเดียว แต่โอกาสเกิดสองข้างก็มีเช่นกันแต่ต่ำมากแค่ 5% อาจพบจากมีแผลเรื้อรังที่หัวนม หรือมีน้ำนมผิดปกติโดยเฉพาะเป็นน้ำเลือด
ตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยการคลำเต้านม
คลำเต้านมในท่านั่ง ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยการห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนลง เนื่องจากหากกล้ามเนื้อตึงเกินไปจะไม่สามารถคลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
คลำเต้านมในท่านอน ให้นอนบนที่นอนยกแขนหนุนศีรษะ ในท่านี้อาจจะใช้ผ้าขนหนูม้วน หรือใช้หมอนขนาดเล็กสอดรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่ต้องการตรวจ เพื่อทำให้บริเวณทรวงอกด้านนั้นแอ่นขึ้นมาเล็กน้อย จะสามารถคลำได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น
วิธีคลำ การคลำเต้านม จะใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว คลำในลักษณะคลึงวนเป็นก้นหอยเล็ก ๆ บริเวณเต้านมให้ทั่วทั้งเต้านม ในระดับความแรง 3 ระดับ คือ ระดับตื้นลงไปจากผิวหนังเล็กน้อย ระดับที่ลึกลงไป และระดับที่ลึกถึงผนังหน้าอก โดยทิศทางในการคลำสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
ตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเอ็กซเรย์
การตรวจเต้านมโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษ ที่ใช้รังสีในปริมาณที่ต่ำ (น้อยกว่าการเอกซเรย์ทั่วไปมาก) โดยทำการตรวจเต้านมข้างละ 2 ท่า รวม 4 ภาพ โดยจะใช้อุปกรณ์ช่วยในการกดเต้านม ให้เนื้อเต้านมกระจายออก และเอกซเรย์ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยไม่ทำอันตรายใด ๆ แก่เต้านม จึงมีความปลอดภัยมาก (แม้ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมแล้วก็สามารถทำการตรวจได้) เรียกว่า การตรวจภาพรังสีเต้านม แมมโมแกรม (Mammogram)
ป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยการควรตรวจเช็คเต้านมปีละกี่ครั้ง
ผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุ 35 ปีควรตรวจ 1 ครั้ง จากนั้นเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรทำการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ ปี อย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็ง (ดูข้อ 4) ต้องตรวจทุกปี โดยไม่ต้องพิจารณาอายุ
มะเร็งเต้านมรักษาอย่างไร
การรักษาที่ดีที่สุดคือการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันสมารถทำได้ โดยการตัด เฉพาะก้อนออก โดยไม่ต้องตัดเต้านมทั้งข้างทิ้งก็ได้ นอกจากนี้มักจะต้องให้ยาเคมีบำบัด เพื่อฆ่ามะเร็งร่วมด้วย และอาจใช้ การฉายรังสีร่วมด้วยในบางราย
โอกาสรอดชีวิตเมื่อเป็นมะเร็งเต้านม มีมากเท่าไหร่
โอกาสรอด ตามระยะของโรค หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ โอกาสรอดก็สูงตามไปด้วย อัตรารอดที่ 5 ปีของโรคมะเร็งเต้านมในระยะต่างๆทั้งในผู้หญิงและในผู้ชายประมาณได้ดังนี้
- ระยะ 0 รอดประมาณ 95 – 100%
- ระยะ 1 รอดประมาณ 90 – 100%
- ระยะ 2 รอดประมาณ 85 – 90%
- ระยะ 3 รอดประมาณ 65 – 70%
- ระยะ 4 รอดประมาณ 0 – 20%
ถึงเวลาแล้วที่ทุกคน ต้องหันมาใส่ใจสุขภาพและอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดื่มน้ำสะอาด นอนให้เพียงพอ คิดบวก แค่นี้ คุณก็จะเป็นคนสุขภาพดี และห่างไกลจากโรคร้ายแรงค่ะ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
ขอบคุณภาพประกอบ : www.authorstream.com และ en.wikipedia.org