ฝึกลูกว่ายน้ำอายุไหร่
คำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนมักจะถามผู้เชี่ยวชาญอยู่บ่อยครั้ง เรื่องฝึกทักษะการว่ายน้ำให้กับลูก ควรเริ่มเมื่อไหร่ดี เพราะเห็นคุณพ่อคุณแม่ชาวต่างชาติฝึกลูกให้ว่ายน้ำตั้งแต่แรกเกิด และเด็กก็สามารถว่ายได้จริงๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะเกิดความลังเลเพราะกลัวอันตราย ควรให้ลูกฝึกเรียนว่ายน้ำตั้งแต่แรกเกิดดีหรือไม่อย่างไร ? Mamaexpert มีคำแนะนำดังนี้
ฝึกลูกว่ายน้ำอายุไหร่ ฝึกลูกว่ายน้ำอายุ1ปีขึ้นไปดีจริงหรือ?
สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรั
- เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีพัฒนาการทางด้านภาษายังไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าใจคำสั่ง หรือการสื่อสารจากครูฝึก
- พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ยังไม่สมบูรณ์เเข็งแรง ความคล่องตัวน้อยกว่าเด็กอายุ 1 ปี ขึ้นไป
- เด็กอายุน้อย มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าเด็กโต เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังต่ำมาก และได้รับวัคซีนที่สำคัญๆ ยังไม่ครบโดส
- การฝึกกลั้นหายใจ การกลืน ยังไม่สมบูรณ์ จึงเสี่ยงต่อการสำลักน้ำมากกว่า เด็กโต การสำลักน้ำอันตราย และยังเสี่ยงต่อการกลืนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายด้วย
- เส้นผมและผิวหนังของลูกอาจถูกทำลายมากเกินกว่าจะรับได้ เนื่องจากสารคลอรีนและแสงแด
ดที่มากระทบกับผิว คุณพ่อคุณแม่ต้องเลือกใช้ชุดว่ายน้ำที่ได้มาตฐาน ครีมกันแดดประสิทธิภาพดีมีคุณสมบัติกันน้ำได้ - ( waterproof) ด้วยถึงจะเพียงพอ
- ช่วงเวลาที่ควรหลึกเลี่ยง 10 – 16 น. เพราะช่วงวลาดังกล่าวมีโอกาสได้รับแสงสะท้
อนจากน้ำมากเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวไหม้ มีการสูญเสียน้ำออกจากร่างก ายมากขึ้น (เลือกสถานที่ในร่มจะดีกว่าสำหรับเด็ก ) - ถ้าลูกผมยาวต้องมัดผมให้เรียบร้
อยแล้วใส่หมวก จะช่วยป้องกันผมเสียจากแสงแ ดด และหมวกจะช่วยกันไม่ให้ผมยุ ่งพันกันมากเวลาอยู่ในน้ำ - เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่ควรใช้ครีมกันแดด สำหรับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปควรเลือกใช้ครีมกันเเดดชนิ
ดสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เช่น สาร titanium dioxide หรือ zinc oxide ไม่ใช้สาร PABA เพราะระคายเคืองและทำให้แพ้ ได้ มีค่า SPF สูงกว่า 15 ให้ทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 1 ชม. ทาซ้ำทุก 2 ชม.หรือบ่อยกว่าในกรณีที่เล ่นน้ำ ไม่ควรใช้แบบเจล เพราะมีอัลกอฮอล์ผสม ทำให้ผิวแห้ง ควรทดลองทาบริเวณข้อมือหรือ ต้นแขนด้านใน ดูอาการภายใน 24 ชม. หากมีผื่นแดง แสดงว่าแพ้ ไม่ควรใช้
ฝึกลูกว่ายน้ำอายุไหร่ ฝึกลูกว่ายน้ำอายุต่ำกว่า1ปี ควรทำอย่างไร?
คำแนะนำหากคุณจำเป็นต้องพาลูกอายุน้อยกว่า 1 ปี ฝึกเรียนว่ายน้ำ
- ไม่ควรพาลูกเล่นน้ำช่วงเวลา
10 – 16 น.เพราะแสงสะท้อนจากแดดรุนแรงมากกว่าทุกช่วงเวลา และเด็กวัยนี้ยังใช้ครีมกันแดดไม่ได้ เสี่ยงต่อผิวไหม้รุนแรง - หากลูกของคุณมีปัญหาผิวแห้งอยู่แล้ว ควรทาโลชั
่นบำรุงผิวเป็นประจำเพราะกา รเล่นน้ำหรืออาบน้ำบ่อยจะทำ ให้สูญเสียน้ำมันธรรมชาติจา กผิวหนังทำให้ผิวแห้งมากขึ้ น อาจเกิดการระคายเคืองจากผิวหนังแห้งแตก คันและเป้นผื่นตามมาได้ - เด็กอายุน้อยว่า 6 เดือน ยังไม่ควรลงสระคลอรีนไ
ม่ได้เพราะระคายเคืองผิว และ แสบตา ให้ลงสระน้ำเกลือ หรือ สระโอโซน - หากมีปัญหาผิวหนังเป็นผื่นแ
ดงจากแพ้สารคลอรีน ให้ใช้วาสลีนหรือปิโตรเลียม เจลทาเคลือบผิวก่อนลงน้ำ - ครั้งแรกที่พาลูกลงสระไม่ควรเกิน 10 นาที
- อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับเด็กควรอยู่ระหว่าง 30 – 34 องศาเซลเซียส
- คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละสายตาจากลูกแม่แต่วินาทีเดียว
ควรเลือกสระว่ายน้ำแบบไหนปลอดภัยต่อลูก
1.สระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ
เป็นระบบควบคุมความสะอาดของน้ำด้วยระบบเกลือ โดยใช้เครื่องผลิตคลอรีนอัตโนมัติจากเกลือ (Salt Water Chlorinator) ระบบนี้จะใช้เกลือธรรมชาติ ในการฆ่าเชื้อโรคแทนคลอรีน โดยอาศัยวิธีทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า Electrolysis เกิดเป็นโซเดียมไฮโปคลอไรท์ และเกลือ NaCl กลับคืนมา เหมาะสำหรับเด็กเล็ก
2.สระว่ายน้ำระบบโอโซน
เป็นระบบที่นำเอาก๊าซ โอโซน ซึ่งผลิตจากเครื่องอัดอากาศ มาบำบัดน้ำในสระ มีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคในระยะเวลาอันสั้นกว่าระบบอื่นและไม่มีสารเคมีทุกชนิดตกค้างในน้ำ เหมาะสำหรับเด็กเล็ก
3.สระว่ายน้ำระบบคลอรีน
เป็นระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีราคาถูก และนิยมใช้กันมากที่สุด คลอรีนที่ใช้อยู่ในรูปของเหลว เม็ด และผงคลอรีน โดยคลอรีนจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เมื่อน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 เนื่องจากสารคลอรีนอาจมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ดังนั้นการละลายคลอรีนจึงควรทำในช่วงเย็นหลังจากที่ใช้สระเสร็จแล้ว และต้องเปิดเครื่องกรองทิ้งไว้อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง การปรับค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำที่ให้บริการ ให้ทำทุกวัน โดยมีค่าปริมาณคลอรีนอยู่ที่ 3 ppm ในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนคลอรีนจะสลายตัวเร็ว และ 2 ppm ในฤดูฝน และฤดูหนาว เหมาะกับเด็กโตขึ้นไป
ไม่ว่าลูกคุณจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไหร่ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เลือกสระที่ได้มาตรฐานความสะ
บทความแนะนำเพิ่มเติม :
1. แนะนำ 4 สถานที่ สอนทารกว่ายน้ำ
2. แสงแดดสุดอันตรายต่อผิวลูก อย่าลืมปกป้องผิวลูกน้อยจากแสงแดด
3.เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับครีมกันแดดสำหรับเด็ก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team