อาหารบำรุงครรภ์ในแต่ละไตรมาส
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญเพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีของลูกรัก เริ่มที่การบำรุงครรภ์อาหารคุณภาพ แต่ต้องบำรุงครรภ์ด้วยความเข้าใจ บำรุงครรรภ์ให้ถูกหลัก เพราะหากรับประทานอาหารมากจนเกินไป หรือ รับประทานเผื่อลูก นอกจากลูกน้อยจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นแล้ว คุณแม่ยังมีโอกาสเกิด โรคอ้วนขณะคลอดและหน้าท้องหย่อนยานหลังคลอดจากการขยายของผนังหน้าท้องที่มากเกินไปอีกด้วย
อาหารบำรุงครรภ์ในแต่ละไตรมาส กับสารอาหารที่สำคัญ
ไตรมาสที่ 1 เน้น โฟเลตเพื่อสูขภาพของแม่ และ ลดความพิการของลูก
- โฟเลต โฟลิค หรือ วิตามินบี9 จัดเป็นอาหารวิเศษสำหรับแม่ตั้งครรภ์เลยทีเดียว โดยปกติแล้ว เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์ ในระหว่างไตรมาสที่ 1 สูติแพทย์จะให้ยา โฟลิคมารับประทานวันละ 1 เม็ด คุณแม่ควรปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะโฟเลต ช่วยลดความพิการของทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างดี สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาการท้องผูก แนะนำโฟเลตจากธรรมชาติ ได้แก่ บรอคโคลี พืชตระกูลถั่วต่างๆ ผักตระกูลกะหล่ำปลี อะโวคาโด ส่วนผลไม้ได้แก่ เช่น ส้ม มะละกอ เป็นต้น
ไตรมาสที่ 2 แม่และลูกต้องการ แคลเซี่ยมและธาตุเหล็ก
- ธาตุเหล็ก สำคัญกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองเพราะร่างกายต้องนำเหล็กไปช่วยในสร้างเม็ดเลืดแดง ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงนี้มีส่วนสำคัญในการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งแม่และลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่มีภาวะซีด หรือโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก เสี่ยงต่อการตกเลือดขณะคลอดบุตร และหลังคลอดบุตรได้
- แคลเซี่ยม มีบทบาทสำคัญมากเช่นกัน เพราะลูกรักได้แบ่งแคลเซี่ยมจากแม่ไปใช้ในการเสริมสร้างเซลล์กระดูก หากไม่ชดเชยเเคลเซี่ยม แม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสนี้ อาจเกิดภาวะขาดเเคลเซี่ยมได้ ในการฝากครรภ์คุณแม่จะได้รับแคลเซี่ยมเม็ด และธาตุเหล็ก ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว และถั่วต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม
ไตรมาสที่ 3 โปรตีนและแคลเซี่ยม
- โปรตีน เป็นสารที่ใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อในร่างกายของมารดาและส่วนหนึ่ง ช่วยในการเสริมสร้างเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นความต้องการโปรตีนในไตรมาสสุดท้ายจึงเพิ่มมากขึ้น แหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ นม เนย เนื้อสัตว์ทุกชนิด ปลาและไข่ โปรตีนที่ได้จากพืช เช่น ถั่ว เป็นอาหารที่อาจใช้แทนได้ แต่โปรตีนจากพืชเป็นโปรตีนที่ไม่ครบถ้วนสำหรับความต้องการของร่างกายขณะตั้งครรภ์หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ก็จะเป็นเหตุให้ได้รับ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินบีรวมไม่เพียงพอตามไป อีกด้วย การได้รับปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการบวม และทารกที่คลอดออกมาจะไม่แข็งแรง
- แคลเซี่ยม ในไตรมาสสุดท้ายนี้ ยังคงหน้าทีในการเสริมสร้างกระดูกและฟันของทารกหากทารกได้รับเเคลเซี่ยมไม่เพียงพอจะทำให้เป้นโรคกระดูกอ่อน แขนขาโค้งงอ แคลลเซี่ยมยังสำคัญต่อการสร้างน้ำนมหลังคลอด และป้องกันการตะคริวในแม่ตั้งครรภ์ด้วย ไตรมาสสุดท้ายพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีอาการตะคริวอยู่บ่อยๆ สาเหตุเนื่องมาจากร่างกายได้รับแคลเซี่ยมไม่เพียงพอนั่นเอง คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายจึงควรได้รับแคลเซี่ยมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
สิ่งสำคัญขณะตั้งครรภ์นอกจากการดูแลทางด้านร่างกายจิตใจให้ดีอยู่เสมอแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ละเลยไม่ได้ คือ การไปฝากครรภ์ตามนัด อย่าลืมว่า ทุกๆ สัปดาห์ ทารกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ แพทย์จะได้ดูแลแก้ไขได้ท่วงทีค่ะ
การเลี้ยงดู และโภชนาการช่วงแรกของชีวิตที่ดี จะส่งผลต่อสุขภาพลูกน้อยระยะยาว น้ำนมแม่ นอกจากมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตครบถ้วน ยังมีสารสำคัญที่เป็นแหล่งของภูมิต้านทาน เช่น พรีไบโอติก อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ ทำงานร่วมกับโพรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพ แบบซินไบโอติก สร้างพื้นฐานภูมิต้านทานที่แข็งแรงให้ลูกน้อย โดยเฉพาะลูกผ่าคลอดที่อาจไม่ได้รับโพรไบโอติกผ่านทางช่องคลอด คลิกอ่านต่อเพื่อลูกน้อย
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. อาหารบำรุงครรภ์ แบ่งตามอายุครรภ์ 1-40 สัปดาห์
2. 7 อาหารบำรุงครรภ์และปรับอารมณ์แม่ตั้งครรภ์ให้อารมณ์ดี
3. บำรุงครรภ์กินอย่างไรให้น้ำหนักไปที่ลูกแม่ท้องไม่อ้วนเผละ
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team