แพ้อาหาร
ตั้งแต่วัยเริ่มหัดหม่ำ คุณแม่ควรมีการทดสอบการแพ้อาหารของลูกไปด้วยค่ะ ไม่ยากทำได้โดยให้ลูกเริ่มอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เพียงชนิดเดียว ป้อนติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน หากไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้น เป็นอันว่าลูกไม่แพ้อาหารชนิดนั้นปลอดภัย และทำการทดสอบอาหารทีละอย่างไปเรื่อยๆค่ะ ตั้งแต่หัดหม่ำจนถึง 12 เดือน ลูกควรได้รับการทดสอบอาหารเกือบทุกชนิด การทดสอบการแพ้อาหารเป็นสิ่งที่ดี เพราะเด็กแต่ละคนร่างกายสามารถตอบรับปฎิกิริยาแพ้ได้ต่างกัน บางคนแพ้นิดหน่อย บางคนแพ้มากและบางคนแพ้ถึงแก่ชีวิตได้
อาหารกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารในเด็ก
- กลุ่มอาหารทะเล ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก แมงกะพรุน
- กลุ่มไข่ ไข่ทุกชนิด ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นก ไข่ห่าน โดยเฉพาะไข่ขาวเพราะมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบ
- กลุ่มถั่ว ทั้งพวกถั่วลิสง ถั่งเหลือง อัลมอนด์ วอลนัท ฯลฯ
- กลุ่มข้าวสาลี เช่น ผลิตภัณฑ์ต่างจากโดยเฉพาะขนมมักทำมาจากแป้งสาลี
- กลุ่มข้าวโพด ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดสด หรือแป้งข้าวโพดที่นิยมนำไปปรุงเมนูขนมเด็ก
อาการแสดงเมื่อลูกแพ้อาหาร
หากเกิดอาการแพ้อาหาร ระบบต่างๆของร่างกาย จะแสดงปฏิกิริยาดังต่อไปนี้
- ระบบผิวหนัง อาการแสดงได้แก่ มีผื่น ผื่นเล็กๆแดงๆ หรือผื่นคล้ายลมพิษ ผื่นคันตามดัว
- ระบบทางเดินอาหาร อาการแสดง ได้แก่ คันปาก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย
- ระบบทางเดินหายใจ อาการแสดง ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันในจมูก คันคอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หอบ
- แพ้มาก อาจซ็อคและเสียชีวิตได้ หากลูกมีอาการแพ้อาหารโดยเฉพาะมีอาการหายใจลำบากต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
เป็นอีกเรื่องที่พ่อแม่อย่างเราวางใจไม่ได้จริงๆค่ะ อาการแพ้อาหาร บางครั้งไม่แสดงออกในครั้งแรกที่รับประทาน คุณแม่ต้องละเอียดรอบคอบ สังเกตอาการที่อาจแพ้ได้ทุกครั้งที่ลูกยังไม่เคยทานอาหารชนิดนั้นๆมาก่อน
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ลดความเสี่ยงในการแพ้นม เลือกนมให้ลูกอย่างไร
2. 5 อาการแสดง ที่บ่งชี้ว่าลูกแพ้นมวัวและการรักษาเมื่อลูกแพ้นมวัว
3. อาหารที่เด็กแพ้บ่อยๆและอันตรายจากการแพ้อาหาร
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team