แมลงก้นกระดกมีพิษร้าย คุณแม่ต้องระวัง และรอบรู้เรื่องการดูแลเมื่อลูกถูกพิษร้าย

16 September 2016
41773 view

แมลงก้นกระดก

    แมลงก้นกระดก เรียกอีกชื่อว่า แมลงน้ำกรดมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paederus Fucipes เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม ชอบงอส่วนท้ายกระดกขึ้นลง ทำให้ได้ชื่อว่าแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมากอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ใกล้หนองน้ำ ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน 

    อันตรายจากพิษแมลงก้นกระดก

    แมลงก้นกระดกจัดเป็นแมลงมีพิษร้าย ระบาดมากในปลายฝนต้นหนาว และตอนนี้เริ่มกลับมากระหึ่มโลกโซเชี่ยวอีกระลอก เพราะมีหลายคนโดนพิษจากเเมลงชนิดนี้เข้าให้แล้ว แต่อย่าหลงเชื่อทั้งหมด เพราะสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยออกมาใหข้อมูลที่ถูกต้องแล้วว่า ถูกพิษแมลงก้นกระดกไม่ทำให้เสียชีวิตตามที่เป็นข่าว แต่ … แมลงชนิดนี้มีพิษทำให้เกิดตุ่มพุพองจริง

    อาการจากพิษของแมลงก้นกระดก

    1. ผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ไม่ได้เกิดจากการที่มันกัดหรือต่อย แต่เกิดเราไปบี้ตัวแมลงทำให้สารเคมีในตัวที่ชื่อว่า paederin ทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้ แสบ คันมากน้อยตามปริมาณที่สัมผัส

      ผิวหนังพุพอง จากพิษแมลงก้นกระดก
    2. หากสัมผัสถูกตัวของ แมลงก้นกระดกแล้ว ให้รีบล้างด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่ และประคบเย็นในบริเวณที่สัมผัสโดนแมลง
    3. อาการผื่นผิวหนังจะยังไม่เกิดทันที ที่สัมผัส แต่จะเริ่มเกิดผื่นและอาการแสบเมื่อผ่านไปประมาณ 24 ชั่วโมง


    4. หลังจากสัมผัสพิษแล้ว 24 ชั่วโมจะเกิดเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน หรือรอไหม้ลักษณะเป็นทางยาว โดยลักษณะที่เกิดเป็นทางยาวเพราะเกิดจากการปัดด้วยมือ หรือบางรายจะเกิดผื่นที่บริเวณซอกรอยพับที่ประกบกัน  ร่วมกับตุ่มน้ำพองและตุ่มหนองใน 2-3 วัน
    5. ถ้าผื่นมีตุ่มน้ำพองเป็นบริเวณกว้างหรือแผลไหม้ควรทำการประคบด้วยน้ำเกลือครั้งละ5-10 นาที วันละ  3-4 ครั้งจนแผลแห้ง โดยผื่นตุ่มน้ำตามบริเวณใบหน้า ลำคอ แขน มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นงูสวัดได้
    6. ผื่นที่เกิดจากการสัมผัสแมลงก้นกระดกนี้ในเวลาต่อมาผื่นหรือแผลจะตกสะเก็ดและหายได้เองได้ภายใน   7 – 10 วัน หายแล้วอาจจะทิ้งรอยดำไว้สักระยะหนึ่ง
    7. สำหรับในรายที่ผื่นเป็นบริเวณกว้าง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อ หรืออาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ควรพบแพทย์
    8. ระวังอย่าให้เข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ 

    การป้องกันพิษจากแมลงก้นกระดก

    ไม่ควรจับตัวแมลงมาเล่น ควรหลีกเลี่ยงการปัดหรือบีบตัวแมลงที่มาเกาะตามตัว ควรใช้วิธีเป่าแมลงให้หลุดออกไปเองโดยไม่ต้องจับโดนตัวแมลง ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ก่อน เพื่อป้องกัน รวมทั้ง ควรปิดประตูตู้เสื้อผ้า ประตูและหน้าต่างห้องนอนให้มิดชิดทั้งกลางวันและกลางคืน ในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็นโดยเฉพาะควรปิดไฟห้องนอน เพราะ “แมลงก้นกระดก” มักชอบออกมาเล่นแสงไฟตามบ้าน

    บทความแนะนำเพิ่มเติม

    1. คุณแม่แชร์ประสบการณ์ : หมากัดลูกเหวอะ!!!

    2. คุณแม่แชร์ประสบการณ์ : ลูกติดเชื้อหวัดรุนแรงทำให้คอเอียง

    3. 5 โรคอันตรายในเด็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง

    เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

    ขอบคุณข้อมูล :

    : สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย
    ผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก โดยอ.พญ.เพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล ภาควิชาตจวิทยาFaculty of แพทย์ศิริราชโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
    : คุณJfkสมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม