วิธีเลิกขวดนมกับ 5 เคล็ดลับสุดง่าย ที่คุณแม่ต้องลอง!

20 July 2023
632 view

วิธีเลิกขวดนม

.

.

นมถือเป็นอาหารหลักของลูกน้อย โดยนมที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับโภชนาการของลูกน้อยมากที่สุดก็คือ นมแม่ แต่คุณแม่หลาย ๆ ก็มีข้อจำกัดในการให้นมแม่แก่ลูกน้อยได้ จึงมีทางเลือกส่วนของนมไม่ว่าจะเป็นนมวัว หรือ นมแพะที่มักถูกเลือกมาทดแทนนมแม่ในกรณีที่ลูกน้อยแพ้นมวัว เมื่อลูกน้อยดื่มนมแม่ก็สามารถเข้าเต้าได้ แต่เมื่อลูกน้อยต้องดื่มนมทางเลือกก็ต้องใช้อุปกรณ์เข้ามาช่วยซึ่งก็คือขวดนมนั่นเอง (ในส่วนของคุณแม่บางท่านก็ใช้ขวดนมบรรจุนมแม่ให้ลูกน้อยได้ดื่มเช่นกัน) และเมื่อถึงเวลาอันควรคุณพ่อคุณแม่ย่อมให้ลูกน้อยได้รับประทานอาหารอื่น ๆ เสริมด้วย จึงถึงเวลาที่ลูกน้อยต้องเปลี่ยนวิธีการดื่มนมจากขวดมาดื่มจากแก้วหรือดื่มจากกล่องแทน ทั้งนี้ก็เกิดปัญหาขึ้นในคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่าน นั่นก็คือลูกน้อยไม่ยอมเลิกขวดนมนั่นเอง ในบทความนี้เราจึงขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไปพบกับ 5 วิธีเลิกขวดนมซึ่งนับเป็นเคล็ดลับสุดง่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องลองกัน

5 วิธีเลิกขวดนม แก้ปัญหาลูกติดขวด

เรามาพบกับเคล็ดลับที่เป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขปัญหาลูกน้อยติดขวดนมกัน ดังนี้

  1. ให้อาหารหลักเป็นอาหารอื่น ๆ แทนการให้นมลูกน้อย ซึ่งก็นับเป็นวิธีเลิกขวดนมที่มาพร้อมการเสริมสร้างพัฒนาการตามวัย เนื่องจากเมื่อลูกน้อยโตขึ้น การรับสารอาหารจากน้ำนมไม่ว่าจะเป็นน้ำนมแม่ น้ำนมวัว หรือ น้ำนมแพะก็ไม่เพียงพออีกต่อไป ลูกน้อยของคุณยังต้องการอาหารครบทั้ง 5 หมู่ทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และ เกลือแร่ ที่ต้องได้รับจากอาหารประเภทอื่น ๆ เมื่อลูกน้อยอิ่มจากอาหารอื่น ๆ แล้วก็ย่อมดูดนมจากขวดน้อยลง
  2. ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเป็นมื้อ ๆ โดยงดส่วนของการดูดนมในมื้อกลางคืน ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีเลิกขวดนมที่สามารถทำได้ง่าย ๆ แถมเป็นการฝึกวินัยในการรับประทานอาหารในแต่ละวันให้แก่ลูกน้อยอีกด้วย และที่สำคัญเลยการใช้วิธีนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องใจแข็งกันสักหน่อย เพราะลูกน้อยอาจรับประทานอาหารในแต่ละมื้อไม่อิ่ม จนขอนมจากขวด คุณพ่อคุณแม่จึงควรงดการให้นมจากขวดแล้วใช้วิธีการให้นมแบบอื่นแทน
  3. การให้ลูกน้อยดื่มนมจากกล่องหรือแก้วแทน เมื่อเดินทางออกนอกบ้านโดยให้เหตุผลว่าไม่ได้นำขวดนมมา เมื่อสถานการณ์บังคับและลูกน้อยอยากดื่มนม ลูกน้อยย่อมต้องยอมและดื่มนมจากขวดหรือแก้วอย่างแน่นอน วิธีเลิกขวดนมถือว่าเป็นวิธีการเลิกแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้ลูกน้อยค่อย ๆ เรียนรู้
  4. การใช้ไม้แข็งแบบสุด ๆ วิธีเลิกขวดนมวิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาแต่โบราณและได้ผลชะงักกันเลย นั่นก็คือการใช้ของที่มีรสขมมาทาบริเวณจุกนม ซึ่งสิ่งที่นิยมนำมาทาก็คือบอระเพ็ดนั่นเอง เมื่อลูกน้อยดูดนมจากขวดโดยใช้จุกที่มีรสขม ลูกน้อยก็จะรู้สึกถึงรสชาติที่ไม่พึงปรารถนา จากนั้นก็จะเกิดการจดจำและเลิกดูดนมไปโดยปริยาย
  5. การใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยเข้าใจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีเลิกขวดนมที่มีความหลากหลายสามารถเลือกใช้สื่อได้ตามช่วงวัยของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการเล่านิทานให้ลูกน้อยฟังเกี่ยวกับเด็กติดขวดนม การให้คุณหมอฟันเล่าถึงโทษของการดูดนมจากขวดติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือ แม้แต่การเล่นเกมเพื่อสื่อหรือสอนลูกน้อยเกี่ยวกับเด็กติดขวด

เมื่อไหร่ที่ควรให้ลูกเลิกขวดนมได้แล้ว

เมื่อเราทราบกันแล้วถึงเคล็ดลับที่ใช้ในการเลิกขวดนม ถัดมาคุณพ่อคุณแม่ก็คงอยากทราบว่าควรให้ลูกน้อยเลิกขวดนมเมื่ออายุเท่าไรดี ในข้อสงสัยนี้เราขออ้างอิงตามพัฒนาการของร่างกายมนุษย์ที่กล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะพัฒนาจนสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีในช่วงอายุ 1 ปี จนกระทั่งถึงอายุ 1 ปีครึ่ง ซึ่งช่วงอายุดังกล่าวนี้ก็เป็นช่วงอายุที่ลูกน้อยควรเลิกขวดนม แล้วหันมาดื่มนมด้วยวิธีอื่น ๆ แทน

เปลี่ยนมาให้ลูกดื่มนมจากแก้ว ดีกว่าที่คิด

เมื่อคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยเลิกดูดนมจากขวดได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็จะพบกับความอัศจรรย์ของการดื่มนมจากแก้ว ดังนี้

  • สะดวกสบายในการดื่มนมทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์การชงนม หรือ อุปกรณ์การดูดนมของลูกน้อย
  • หลีกเลี่ยงฟันที่งอกออกมาผิดรูปที่เกิดจากการดูดนมจากจุก
  • หลีกเลี่ยงฟันผุ เพราะเมื่อลูกน้อยดูดนมจากขวดมักอยู่ในท่านอนแล้วเผลอหลับไป ทำให้ไม่ได้ทำความสะอาดฟันและช่องปาก แล้วนำไปสู่ปัญหาฟันผุตามมานั่นเอง

จากบทความข้างต้นคงเป็นเทคนิคเคล็ดลับวิธีเลิกขวดนมเล็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งมือใหม่และคุณพ่อคุณแม่ที่เคยผ่านการมีลูกน้อยมาแล้ว แต่ยังไม่เคยทราบวิธีดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้เพื่อลูกน้อยเลิกขวดนมได้ อย่างไรก็ดีการเลิกดูดนมจากขวดไม่เท่ากับการเลิกดื่มนม ดังนั้นแม้ว่าลูกน้อยจะเลิกการดูดนมแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ยังควรเสริมอาหารมื้อหลักด้วยน้ำนมให้ลูกน้อยเสมอ 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. น้องเรซซิ่งติดขวดนม แม่แพทกลัวฟันไม่สวย แก้ไขอย่างไรดี?

2. จุกนมหลอก จำเป็นไหม? เลือกอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย

3. วิธีสังเกตจุกนมเสื่อม ขวดนมเสื่อม และอายุการใช้งานของขวดนม

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team