โรคเรย์ซินโดรม (reye's syndrome)
.
.
reye's syndrome โรคที่ต้องระวังในเด็ก แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่หากเกิดขึ้นแล้วจะมีความเสี่ยงที่สมองและตับของผู้ป่วยจะถูกทำลาย และอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ โรค reye's พบได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในเด็กที่อายุระหว่าง3-4 ขวบ โดยเฉพาะเด็กที่เคยติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่มาแล้ว การรักษาโรคนี้โดยใช้ยาแอสไพรินจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรย์ เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่ป่วยด้วยไข้หวัด และอีสุกอีใสมักจะมีอาการปวดหัว หากมีการใช้ยาแอสไพรินเพื่อบรรเทาอาการปวด อาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรค reye's มากขึ้นนั่นเอง
reye's syndrome เกิดจากอะไร
ถึงแม้ว่าโรค reye's syndrome จะพบไม่ได้บ่อยในประเทศไทย แต่ก็เป็นโรคที่คุณแม่จะต้องระวังในเด็ก เพราะหากเกิดขึ้นแล้วมีความเสี่ยงสูงที่สมอง และตับจะถูกทำลาย และเป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวนี้ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค Reye’s โดยผู้เชี่ยวชาญพบหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดว่า โรคดังกล่าวนี้อาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสด้วยยาแอสไพริน กล่าวคือ เมื่อผู้ป่วย (โดยเฉพาะเด็ก) ได้รับการรักษาอาการติดเชื้อไวรัสด้วยแอสไพริน หากเด็กมีความผิดปกติของการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมัน อาจเกิดความผิดปกติของการเผาผลาญชนิดหนึ่ง ส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถสลายกรดไขมันได้ เนื่องจากเอ็นไซม์ขาดหายไป หรือทำงานไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นกลุ่มของความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมที่สืบทอดมาจาก บิดา มารดา อาจทำให้พัฒนากลายเป็นโรค reye's syndrome ได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แก่เด็กที่อาจเคยติดเชื้อไวรัส และเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส นอกจากนี้การสัมผัสสารเคมีบางชนิดเช่น ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ สารเคมีกำจัดวัชพืช ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเรย์ได้เช่นกัน
อาการของโรค reye's syndrome
อาการของโรค Reye’s โรคในเด็ก โดยเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีความผิดปกติอย่างรวดเร็ว อาการเริ่มแรกเด็กมักจะมีพฤติกรรมเซื่องซึม อาจมีอาการมึนงง และอาเจียนอย่างรุนแรง ตามมาด้วยความหงุดหงิดก้าวร้าว อาจมีอาการชักหมดสติ หรือตกอยู่ในอาการโคม่า ในกลุ่มอาการของโรคเรย์ ระดับน้ำตาลในเลือดของเด็กมักจะลดลง ในขณะที่ระดับแอมโมเนียน และความเป็นกรดในเลือดจะเพิ่มขึ้น อาจเกิดตับบวม และเกิดการสะสมของไขมัน นอกจากนี้อาการบวมยังเกิดขึ้นในสมองของผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดอาการชักหมดสติได้ อาการของโรค reye's syndrome มักปรากฏขึ้นประมาณ 3-5 วัน หลังเริ่มมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสเช่น อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อทางเดินหายใจ อาการเบื้องต้นหลังติดเชื้อก็จะแสดงอาการดังนี้
อาการโรค reye's syndrome ที่เกิดขึ้นกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ
- เซื่องซึม เบื่ออาหาร
- หายใจหอบ หายใจเร็ว
- มีอาการท้องเสียร่วมด้วย
อาการของโรค reye's syndrome ที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยรุ่น
- มีอาการง่วงนอน ง่วงมากกว่าปกติ
- อาเจียนอย่างรุนแรง ต่อเนื่อง
เมื่ออาการดำเนินไป โรคอาจแสดงอาการที่รุนแรงขึ้นเช่น
- เด็กจะมีพฤติกรรมหงุดหงิด ก้าวร้าว ไร้เหตุผล
- มีอาการสับสน มึนงง หรือประสาทหลอน
- อ่อนเพลีย แขนขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต
- มีอาการชัก เนื่องจากสมองบวม
- สติและการรับรู้ลดลง หรือไม่สามารถควบคุมร่างกายได้
วิธีการดูแลรักษา
หากพบว่าลูกมีอาการของโรคเรย์ ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะโรค reye's syndrome จะได้รับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น โดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด แพทย์จะคอยติดตามอาการสัญญาณชีพ และความดันโลหิต โดยการรักษาจะรักษาตามอาการ และความรุนแรงของโรค การรักษา โรคในเด็ก แพทย์จะรักษาแบบประคองอาการเช่น ปรับดุลสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ให้ยาลดภาวะสมองบวม แก้ไขภาวะเลือดออกและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด ถ้าหายใจลำบาก แพทย์จะใช้เครื่องหายใจช่วย รวมถึงการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่พบ ผลการรักษาจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค การรักษาอาการแรกเริ่มที่ยังไม่มีอาการรุนแรงมีโอกาสที่จะหายขาดได้ แต่หากปล่อยไว้ให้มีอาการรุนแรงแล้วค่อยรักษา ก็มักจะพิการทางสมอง และเสียชีวิตได้
ป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร
เนื่องจากโรค reye’s syndrome ยังหาสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัดไม่ได้ การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ยาก ทำได้เพียงแค่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคดังกล่าวเท่านั้น การป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลโรคนี้ คุณแม่สามารถทำได้ดังนี้
- พาลูกไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพรินในเด็กตั้งแต่อายุ 2-16 ปี ยกเว้นแพทย์จะแนะนำ และอาจใช้ยาชนิดอื่นแทนเช่นยา พาราเซตามอล ยาไอบูโพรเฟน ยานาพรอกเซนเป็นต้น
- หากพบว่าลูกมีอาการป่วยคล้ายกับโรคดังกล่าว ไม่ควรไปซื้อยามาให้ลูกกินเอง ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ หรือควรสอบถามเภสัชกร พร้อมทั้งอ่านฉลากยาให้ครบถ้วนก่อนใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของยาแอสไพรินเช่น ซาลิไซเลต เกลือซาลิไซเลต กรดอะซีทิลซาลิซิลิก เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยพบโรค reye's syndrome ได้บ่อยนัก แต่การป้องกันไว้จะช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังกล่าวได้ โดยเฉพาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เพราะฉะนั้นคุณแม่สามารถป้องกันให้ลูกห่างจากโรคเรย์ได้ ด้วยการพาลูกไปฉีดวัคซีนอีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่ให้ครบ พร้อมทั้งไม่ควรให้ยาแอสไพรินกับลูกหากเด็กเคยป่วยด้วยโรคอีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่ เพียงเท่านี้ก็สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของโรคดังกล่าวได้แล้ว
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. ลูกไม่สบายบ่อย เพราะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ดูแลรักษาอย่างไร
2. อาหารติดคอลูกน้อย คุณแม่ต้องรู้ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไร
3. ดาวน์ซินโดรม อาการเป็นอย่างไร? และวิธีเลี้ยงดูลูกน้อยที่เป็นเด็กดาวน์
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team