.
ตรวจทานความถูกต้องโดย ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์
คุณแม่ทุกคนคงจะกังวลใจไม่น้อยเมื่อพบว่า ทารกเป็นผื่นที่หน้า ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในทารกแรกคลอดที่มักจะมีผื่นแดงขึ้นตามใบหน้า ลำคอ รวมถึงบริเวณแขนและขา บางครั้งก็อาจจะมีอาการคันร่วมด้วย ทำให้ลูกน้อยร้องงอแงและรู้สึกไม่สบายตัว ดังนั้นเราจะพาคุณแม่ไปดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นผื่นที่หน้านั้นเกิดจากอะไร และมีวิธีการดูแลรักษาหรือป้องกันได้อย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมืออย่างถูกวิธีเมื่อทารกเป็นผื่นที่หน้านั่นเอง ซึ่งเราก็มีข้อมูลมาฝากคุณแม่ดังนี้
3 ผื่นแดงในเด็กที่พบบ่อย ปัญหากังวลใจของพ่อแม่ยุคนี้
ผื่นแดงที่พบบ่อยในทารกจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- ลักษณะผื่น: ทารกเป็นผื่นที่หน้า มีผื่นแดงคัน เป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นบริเวณแก้มและตามตัว
- ช่วงอายุที่พบบ่อย: แรกเกิด – 1 ขวบ
2. ผื่นฮอร์โมน
- ลักษณะผื่น: ทารกมีผดผื่นขึ้นบริเวณคอ ใบหน้า ตามลำตัว อาจมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็กสีใส หรือเม็ดสีแดง
- ช่วงอายุที่พบบ่อย: แรกเกิด 2-4 สัปดาห์
3. ผื่นต่อมไขมันอักเสบ
- ลักษณะผื่น: ทารกมีตุ่มแดงบริเวณใบหน้า หู และมีสะเก็ดเหลืองที่หนังศีรษะและคิ้ว
- ช่วงอายุที่พบบ่อย: แรกเกิด – 3 เดือน
หน้าทารกเป็นผื่นแดง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
.
.
สาเหตุหลักที่ทำให้หน้าทารกเป็นผื่นแดง ก็คือน้ำลายและน้ำนมที่ไหลมาเลอะบริเวณใบหน้าจนทำให้เกิดผื่นนั่นเอง รวมถึงเหงื่อที่ออกเยอะจากอากาศร้อน เสื้อผ้าที่สวมใส่ และการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นแดงได้เช่นกัน นอกจากนี้ก็สามารถเกิดได้จากกรรมพันธุ์อีกด้วย
หน้าทารกเป็นผื่นแดง หายเองได้ไหม? คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นภูมิแพ้
โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อหน้าทารกเป็นผื่นแดงก็มักจะหายเป็นปกติได้เอง โดยผื่นจะค่อย ๆ ยุบและหายไปภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตามผื่นแดงบางชนิดอาจจะหายช้า ต้องใช้ระยะเวลา 2-6 สัปดาห์เลยทีเดียว แต่ถ้าผื่นลุกลามมากขึ้นและไม่ยุบลงเลย คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
ทั้งนี้คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับอาการผื่นแพ้ของลูกได้ ด้วยการตรวจเช็คว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นภูมิแพ้หรือไม่ โดยสามารถเข้ามาลองทำแบบทดสอบเพื่อความมั่นใจได้เลยที่ N Sensitive Club จะช่วยประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ทำให้รับมือได้ทันและป้องกันลูกน้อยจากผื่นแพ้ได้นั่นเอง โดยเราก็มีวิธีการดูแลป้องกันเพิ่มเติมมาฝากคุณแม่กันด้วย ไปอ่านกันต่อเลยค่ะ
วิธีดูแลและป้องกันเมื่อหน้าทารกเป็นผื่นแดง
.
.
คุณแม่รู้ไหมว่านอกจากผิวทารกจะบอบบางและต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษแล้ว ก็ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการแพ้ด้วยเช่นกัน โดยมีวิธีการดูแลและป้องกันดังนี้
- ทำความสะอาดบริเวณใบหน้าของลูกน้อยทุกครั้งเมื่อลูกแหวะนมหรือมีน้ำลายไหลเลอะแก้ม โดยให้ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าของลูก เพราะมือของคุณแม่อาจมีสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคติดอยู่โดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดการแพ้ได้
- สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบายให้กับลูกน้อย และเสื้อผ้าต้องไม่อับชื้น เพื่อป้องกันการเกิดผดผื่น
- ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนต่อผิวเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ครีมอาบน้ำ หรือโลชั่นบำรุงผิว
- คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะนมแม่เป็นนมที่มีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ เพราะนอกจากนมแม่จะมีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดแล้ว โปรตีนในนมแม่บางส่วนยังถูกย่อยจากเอนไซม์ตามธรรมชาติในนมแม่ ทำให้มีขนาดเล็กลง เป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน (Partially hydrolyzed protein- PHP) รวมทั้งมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกหลายชนิด เช่น Bifidus BL ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า
ทารกเป็นผื่นที่หน้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่คุณแม่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่สำคัญอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้
ซึ่งหากคุณแม่มีความกังวลใจโดยเฉพาะเรื่องของผื่นภูมิแพ้ในเด็ก สามารถเข้ามาติดตามข้อมูลความรู้ดี ๆ และเป็นส่วนหนึ่งกับเราได้เลยที่ N Sensitive Club คลับที่คุณแม่ส่วนใหญ่ไว้ใจ โดยเราได้รวมความรู้และเรื่องราวหลากหลายที่เกี่ยวกับภูมิแพ้ในเด็กให้คุณแม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกับอาการแพ้รวมถึงผื่นแพ้ของลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม
แหล่งอ้างอิง
- https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ผื่น-ภูมิแพ้ผิวหนัง
- https://www.vejthani.com/th/2020/06/ผื่นในลูกน้อย-ปัญหากังว/
- https://www.bangkokhospital.com/content/atopic-dermatitis-in-children
- allas DC, et al. J Mammary Gland Biol Neoplasia. 2015 Dec;20(3-4):133-47.
- Dallas DC, et al. J Nutr. 2014 Jun;144(6):815-20
- Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team