รับมือลูกวัยสองขวบ
.
.
ลูกน้อยวัย 2 ขวบเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวมากขึ้น และหากพูดถึงความแสบความซนแล้วละก็ วัยนี้ถือว่ามีความแสบความซนมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เกรี้ยวกราด ดื้อรั้น ชอบต่อต้าน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเข้าใจพฤติกรรม เด็กสองขวบ ให้มากๆ และจะต้องแสดงความรักประคับประคองกับอารมณ์ที่โหมกระหน่ำดังกับพายุของลูกให้ผ่านพ้นวัยนี้ไปให้ได้อย่างถูกวิธีด้วย ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกับเด็กวัยนี้กันเลยดีกว่า
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เด็กสองขวบ
วัยสองขวบ เป็นวัยกำลังเตาะแตะหัดเดิน มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ร่างกายของ เด็กสองขวบ วัยนี้จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่แข็งแรงมากขึ้น สามารถที่จะเดินได้คล่องขึ้น เริ่มเรียนรู้จักการวิ่ง หรือหลบหลีกสิ่งของที่กีดขวาง สามารถที่จะกระโดดโลดเต้นด้วยเท้าทั้งสองข้างได้อย่างมั่นคง สามารถที่จะโยนบอลหรือเตะบอลจากบนพื้นได้
พฤติกรรมของเด็กวัย 2 ขวบ
เด็กสองขวบ เป็นวัยที่เริ่มมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หรือที่เรียกว่าวัยทอง 2 ขวบ เพราะวัยนี้สมองด้านของอารมณ์มีการพัฒนามากขึ้น แต่สมองด้านเหตุผลกลับเติบโตช้ากว่า จึงทำให้ เด็ก 2 ขวบ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแสดงออกมาบ่อยๆ วัยสองขวบเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด วัยนี้จะเริ่มมีพฤติกรรมต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง อารมณ์คาดเดายาก มีความเป็นตัวเองมากขึ้น อยากจะทำอะไรก็ทำ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้สอดคล้องกับวัยและความสามารถของตัวเองเลย คุณแม่จึงสามารถที่จะสังเกตได้ว่าลูกมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ดีใจก็จะดีใจสุดๆ เสียใจก็จะแสดงออกมาแบบสุดๆ ด้วยเช่นกัน เหตุผลจึงไม่สามารถที่จะใช้ได้กับลูกวัยนี้ได้นั่นเอง
พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ
พัฒนาการของ เด็กสองขวบ วัยนี้เป็นวัยที่กำลังเตาะแตะหัดเดิน อยากจะสำรวจเรียนรู้ต่อสิ่งรอบตัวมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาการของลูกน้อยวัยสองขวบที่สามารถเห็นได้เด่นชัดก็จะมีดังนี้
1.พัฒนาการด้านความคิด และการเรียนรู้
เด็ก 2 ขวบ จะเริ่มมีการใช้ความคิดที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้อย่างเห็นได้ชัด รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากขึ้น วัยนี้จะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเองออกมาโดยคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตและเห็นได้ชัด นั่นคือ วัยนี้จะเริ่มที่จะเล่นของเล่นที่มีความยากและซับซ้อนมากกว่าเดิม สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ของคุณพ่อคุณแม่ได้ เช่น ไปนำของที่ตกและวางไว้ตรงที่เดิมได้ ถอดเสื้อแล้วนำไปแขวนได้ รวมถึงเก็บของที่เล่นเสร็จแล้วใส่ลงไปที่ลังเก็บของเล่นได้ เป็นต้น
2.พัฒนาการด้านการสื่อสารและเข้าสังคม
เด็กสองขวบ เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้ที่จะเข้าสู่สังคมเพื่อนฝูง เริ่มที่จะสนใจสิ่งที่คนอื่นๆ ทำ ทั้งพ่อแม่และคนรอบตัว ที่สำคัญวัยนี้จะมีการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้น และเข้าใจคำสั่งมากขึ้น จะเริ่มสนใจความเป็นตัวเอง มีการแสดงออกทางด้านอารมณ์สุดโต่ง อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ วัยนี้จึงเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความรักความเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
3.พัฒนาการด้านภาษา
ลูกน้อยวัยสองขวบเริ่มที่จะใช้ภาษามากขึ้น รู้จักการพูดเป็นคำ เช่น การเรียกพ่อ เรียกแม่ หรือจะเรียกสัตว์เลี้ยง รวมถึงยังสามารถที่จะบอกความรู้สึกได้ อย่างเช่น เวลาหิวก็จะบอก หม่ำๆ เด็กสองขวบ สามารถที่จะจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้มากถึง 50 คำเลยทีเดียว จึงไม่แปลกใจที่วัยนี้จะเป็นวัยที่พูดแทบจะตลอดทั้งวัน
4.พัฒนาการด้านร่างกาย
สภาพร่างกายและการเคลื่อนไหวของ เด็กสองขวบ กล้ามเนื้อ จะมีการพัฒนาและแข็งแรงมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ เด็กวัยนี้สามารถที่จะปีนป่ายหรือหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ดีขึ้น รู้จักที่จะวิ่งหรือกระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างได้ เป็นวัยที่กล้ามเนื้อแข็งแรงมากกว่าเดิม และเดินได้อย่างคล่องตัว
การกินอาหารของเด็กวัยนี้
พัฒนาการที่ดีของลูกจะต้องมาควบคู่กับสุขภาพที่แข็งแรง โภชนาการจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับ เด็ก 2 ขวบ คุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยควรให้ลูกวัยสองขวบได้ทานอาหารหลัก 3 มื้อ ครบ 5 หมู่ เพิ่มความหลากหลายของอาหารมากขึ้น ไม่เลือกกิน วัยสองขวบควรได้รับสารอาหารที่สำคัญ อย่างเช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ แคลเซียม ธาตุเหล็ก และสารอาหารที่จำเป็นต่อสมอง อย่างเช่น โอเมก้า 3 สฟิงโกไมอีลิน ที่จะช่วยให้สมองรับส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสฟิงโกไมอีลินนั้นจะพบมากในนมแม่ ไข่ ซีส และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำมาจากนมนั่นเอง
เพราะ เด็กสองขวบ เป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องรับมือกับความเจ้าอารมณ์มากเป็นพิเศษ วัยนี้จะมีอารมณ์ความโกรธที่ค่อนข้างรุนแรง มีความเป็นตัวเองสูง เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักการระงับสติอารมณ์ตั้งแต่ยังเด็ก เพราะหากไม่สอนตั้งแต่วัยนี้ อาจจะมีนิสัยก้าวร้าวไปจนถึงโต สิ่งที่คุณแม่ควรสอนคือ ให้รู้จักอดทน อดกลั้น ให้รู้จักใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ จะทำให้ลูกสามารถปรับตัวได้และหากผ่านช่วงวัยนี้ไปก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับนั่นเอง
บทความแนะนำเพิ่มเติม
1. วัยทองสองขวบ อาการเป็นอย่างไร และวิธีรับมือ
2. 5 เกมสำหรับเด็ก ช่วยฝึกสมอง เสริมพัฒนาการให้ลูกฉลาด
3. ของเล่นเด็ก 2 ขวบ มีอะไรบ้าง ช่วยกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team