อาหารบำรุงครรภ์ 9 เดือน ควรกินหรือหลีกเลี่ยงเมนูไหนดี ? เช็คเลย

24 May 2018
14382 view

อาหารบำรุงครรภ์ 9 เดือน

คุณแม่ที่ใกล้คลอดควรปล่อยจิตใจให้ผ่อนคลาย เพราะอีกไม่กี่วันก็จะได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้ว เดือนที่ 9 ท้องคุณแม่จะเริ่มลดต่ำลงและมีขนาดที่โตขึ้น อาจทำให้คุณแม่อึดอัดท้องได้ดังนั้นคุณแม่ควรเลือกกินอาหารที่ดีและจำเป็นต่อร่างกาย ควรรับประทานอาหารในลักษณะที่ย่อยง่าย และให้พลังงานสูงมีเมนูอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

ความสำคัญของการบำรุงครรภ์เมื่ออายุครรภ์ 9 เดือน

ในเดือนที่ 9 คุณแม่อาจมีภาวะของเลือดจางได้จึงต้องทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 4-5 มื้อย่อย เพื่อลดอาการอึดอัดท้องหรือเรียกว่าคุณแม่ต้องกินทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง และควรเน้นธาตุเกล็กเพื่อบำรุงเลือดในวันที่คุณแม่คลอดจะช่วยลดอาการตกเลือดขณะคลอดและหลังคลอดได้

สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 9 เดือน

ถึงแม้จะเป็นช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ก็ยังคงมีความสำคัญอยู่เพื่อให้คุณแม่มีแรงเบ่งคลอด ได้แก่

1. วิตามินเค

วิตามินเคนับว่าจำเป็นมาก เพราะมีส่วนช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น ป้องกันอาการเลือดออกมากผิดปกติ และช่วยสมานแผลบริเวณที่มีรกเกาะปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจะสร้างวิตามินเคได้เองทั้งจากแบคทีเรียในลำไส้ และจากอาหาร เช่น ผักกาดหอม บรอกโคลี่ ถั่ว ผักโขม อโวคาโด ผักสลัดวอเตอร์เครส ดอกกะหล่ำ วิตามินเคยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนมากขึ้น และช่วยในการฟื้นตัวหลังคลอด

2. วิตามินซี

การกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซีจะช่วยเตรียมฮอร์โมนให้พร้อมสำหรับการคลอด ขณะที่อาหารที่ให้พลังงานอย่างคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถดูดซึมผ่านกระแสเลือดได้เร็วจะช่วยให้คุณแม่มีพลังงานมากพอระหว่างการคลอด และยังทำให้ทั้งแม่และทารกในครรภ์มีภูมิต้านทานสูงขึ้น ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อและสร้างกระดูกของทารก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายของคุณแม่ ช่วยแก้ปัญหาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยบรรเทาอาหารหวัดหรือภูมิแพ้ และช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

3. สังกะสี

จะช่วยทำให้มดลูกแข็งแรงมากขึ้น ทำให้น้ำนมไหลเวียนดีขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูก สังกะสีมีมากในอาหารโปรตีนสูง เช่นเนื้อวัว เนื้อหมู ตับ สัตว์ปีก อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม เมล็ดฟักทอง ไข่และนมสด แต่สังกะสีจากพืชจะดูดซึมได้ยากกว่าสังกะสีในเนื้อสัตว์

4. เกลือแร่และเอนไซม์ต่างๆ

กินอาหารที่อุดมด้วยเกลือแร่และเอนไซม์ต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ เต้าหู้ ผักขม บร็อกโคลี่ ถั่วต่างๆ จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เซลล์กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้นด้วย

5. อาหารให้พลังงานสูง

คุณแม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานให้เพียงพอในทุกๆวัน เพราะไม่รู้ว่าเจ้าตัวเล็กจะออกมาวันไหน ในคุณแม่คลอดธรรมชาติยากที่จะกำหนด เพราะฉะนั้นต้องเตรียมพลังงานไว้เบ่งให้เต็มที่ การเตรียมพร้อมของคุณแม่ด้วยการรับประทาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน อาหารกลุ่มวิตามินบี 1 วิตามินซี ห้ามอดนะแม่เดี๋ยวไม่มีแรงอุ้มเจ้าตัวน้อย

อาหารบำรุงครรภ์ 9 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

ยิ่งใกล้ถึงวันคลอดคุณแม่ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง มีดังนี้

1. กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

ไตรมาสที่ 3 คุณแม่ส่วนมากมักจะมีอาการนอนไม่หลับ อาจเป็นเพราะฮอร์โมนและความกังวลเรื่องทารกและการคลอด จึงทำให้นอนไม่หลับ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทานคาเฟอีน แต่หากคุณแม่ชอบดื่มกาแฟแนะนำให้คุณแม่ทานได้แต่ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 แก้วค่ะ

2. อาหารที่มีแก๊สเยอะ

ผลไม้ที่อาจจะสร้างแก๊สในกระเพาะอาหารให้เพิ่มขึ้น เช่น กล้วยหอม สับปะรด และอะโวคาโด มีกรดกำมะถันสูง เมื่อรับประทานเข้าไปอาจทำให้ท้องอืด และอาจทำให้เกิดอาการอาเจียนร่วมด้วย เนื่องมาจากกรดไหลย้อนและจุกเสียด

3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ประสาท ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตบกพร่อง น้ำหนักแรกเกิดน้อยและมีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง มีปัญหาด้านความจำ การเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีอาการซุกซนไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น

4. งดการสูบบุหรี่

ในบุหรี่มีสารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันบุหรี่ และทาร์จะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท ก่อให้เกิดปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรม เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง มีปัญหาการเรียน ซุกซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว ตลอดจนมีปัญหาด้านการเข้าสังคม

ถึงตอนนี้แล้ว คุณแม่อาจจะเจ็บครรภ์เวลาไหนก็ได้ การออกกำลังกายเบาๆเป็นประจำทุกวัน เช่น การว่ายน้ำ การเดินเล่น โยคะ การบริหารอุ้งเชิงกราน การฝึกยืดอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมคลอด หรือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ก็เป็นการออกกำลังที่ปลอดภัยในช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ Mama Expert เป็นกำลังใจให้คุณแม่ทุกบ้านคลอดลูกน้อยได้ง่ายและปลอดภัยค่ะ

อาหารบำรุงครรภ์ ในช่วงอายุครรภ์อื่นๆ คลิกเลย →→

อาหารบำรุงครรภ์

1 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

2 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

 3 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

4 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

5 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

6 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

7 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

8 เดือน

อาหารบำรุงครรภ์

9 เดือน

ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่

กลุ่มคุณแม่แชร์
ไอเดีย

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team
อ้างอิง :

1. ซีรีส์บำรุงครรภ์: กินกับหมอ.Mahidol Channel.เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=nrTE9OQMR6g. [ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].

2. ผศ.พญ.สุรีย์ลักษณ์  สุจริตพงศ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล.ผลกระทบของการเสพสารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์.เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=796. [ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].

3. 9 อาหารคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/PjirVc. [ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].

4. ชา กาแฟ นม คนท้องกินได้หรือไม่ได้.เข้าถึงได้จาก http://mumraisin.com/can-food-eat-stomach/[ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].

5. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.อาหารที่ทำให้มีแก๊สมาก.เข้าถึงได้จาก https://goo.gl/xRdStx. [ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].

6. Your pregnancy: 40 weeks.เข้าถึงได้จาก https://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-40-weeks_1129.bc[ค้นคว้าเมื่อ 18 มีนาคม 2561].