ประเภทของผดผื่นในเด็ก และการดูแลผื่นที่ถูกต้องเพื่อให้ผื่นหายเร็ว

16 August 2012
24726 view

ผดผื่นในเด็ก
 

ผดผื่นในเด็ก คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตและสงสัยบ้างไหมว่า แม้คุณจะดูแลความสะอาดร่างกายของเจ้าตัวน้อยอย่างดี แต่ทำไมผดผื่นจึงมักเกิดขึ้นบนร่างกายของเจ้าตัวน้อยส่วนใหญ่ได้ง่ายนัก บางคนติติงตัวเองว่าดูแลดวงใจน้อยๆ ไม่ถูกวิธีหรือเปล่า หรือเพราะเสื้อผ้า สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะ จึงทำให้ร่างกายของเจ้าตัวน้อยมีผดผื่นขึ้นตามใบหน้าและลำตัวอย่างนี้? ไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไปแล้ว เพราะเรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

ทำไมเด็กเกิดผื่นง่าย

  1. ผิวหนังของเจ้าตัวน้อยก่อนขวบปียังบอบบาง โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังแท้และหนังกำพร้าของทารกแรกเกิดยังไม่ยืดหยุ่น แข็งแรง หากผิวหนังถูกสะกิดเพียงนิด มันก็จะพองเกิดผื่น หรือผิวหนังอักเสบ ทั้งนี้เพราะเซลล์ผิวหนังแยกตัวได้ง่าย

  2. การทำงานของต่อมเหงื่อกับต่อมไขมัน ยังทำงานได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดผื่นที่ต่างกัน

ประเภทของผื่นเด็กและการดูแลที่ถูกต้อง

1. ผดผื่นทีเกิดจากต่อมเหงื่อ

เนื่องจากเนื้อที่ผิวกายของเจ้าตัวน้อยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ จึงต้องขับเหงื่อออกมากกว่าผู้ใหญ่เพื่อระบายความร้อน โดยหลอดเลือดในร่างกายจะขยายตัว เพื่อขับความร้อนออกมาทางเหงื่อ นี่คือสาเหตุที่เจ้าตัวน้อยปกติมักตัวรุมตลอดเวลา คือ ตัวร้อนกว่าหลังมือของผู้ใหญ่เล็กน้อย โดยมีอุณหภูมิของร่างกายอยู่ระหว่าง 37-37.5 องศาเซลเซียส รวมกับการสังเกตดูว่าเจ้าตัวน้อยยังดูดนมหม่ำอาหารได้ดี ยังยิ้มและหัวเราะได้แสดงว่าไม่ได้เป็นไข้หรือเจ็บป่วย  และเพราะ... 

  • ยกเว้นเจ้าตัวน้อยที่ป่วยด้วยโรคผิวหนังบางอย่าง เช่น ต่อมเหงื่อฝ่อ หรือที่รู้จักกันในลักษณ์ของสังข์ทอง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรม ร่างกายจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยหาสาเหตุของการติดเชื้อไม่พบ
  • และถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับล่าง ก็จะเป็นผดสีขุ่น

  • ถ้าอุดตันที่ผิวหนังระดับกลางก็จะเห็นเป็นผดแดง

  • ผดแต่ละชนิดจะขึ้นอยู่กับความลึกของการอุดตันของต่อมเหงื่อที่ชั้นผิวหนัง ถ้าอุดตันที่ผิวหนังตื้น ก็จะเห็นเป็นผดใส

  • ต่อมเหงื่อของเจ้าตัวน้อยยังทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดการอุดตัน กลายเป็นผดผื่นได้ง่าย ซึ่งได้แก่ ผดใส ผดแดง และผดลึก ที่มักเกิดในฤดูร้อน

  • ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนได้ การให้ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กก่อนปรึกษาแพทย์ในกรณีนี้ หรือไม่ว่ากรณีใดจึงอันตรายหากให้กินเกินขนาด เพราะมันจะสะสมที่ตับ จนตับเสื่อมหน้าที่ได้

  • ผื่นจากต่อมเหงื่อป้องกันได้ โดยอย่าให้เจ้าตัวน้อยร้อนมากเกินไป ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเท ระบายความร้อนได้ดี ในช่วงฤดูร้อนอาจให้นอนในห้องที่เปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ เสื้อผ้าไม่ควรเป็นผ้าหนาตามอย่างต่างประเทศ หรือห่อตัวให้จนแน่น เพราะกลัวว่าเจ้าตัวน้อยจะโดนแดดโดนลมจนไม่สบาย การทำอย่างนั้นยิ่งทำให้ต่อมเหงื่อของเจ้าตัวน้อยทำงานหนัก และไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้ รูขุมขนก็จะอุดตันเป็นผื่นขึ้น จนผิวอักเสบพุพองเป็นหนองได้

  • การเช็ดตัวหรืออาบน้ำห้เจ้าตัวน้อยบ่อยขึ้นในฤดูร้อนช่วยระบายความร้อนไม่ให้เกิดความหมักหมม การทาคาลาไมน์จะช่วยลดอาการคัน เพราะมีส่วนผสมที่เป็นน้ำ เมื่อน้ำระเหย ก็จะดูดความร้อนที่ผิวของเจ้าตัวน้อยออกไป เจ้าตัวน้อยจะสบายขึ้น ผดผื่นก็จะหายไป หรือเมื่อเจ้าตัวน้อยโตขึ้น พื้นที่ระบายความร้อนของร่างกายก็จะเพิ่มขึ้น ผดผื่นก็จะไม่มารังควานแบบนี้อีก

2. ผื่นที่เกิดจากต่อมไขมัน

มักเกิดขึ้นเป็นปกติกับเจ้าตัวน้อยก่อนขวบปีพอสมควร โดยเฉพาะเจ้าตัวน้อยแรกเกิดถึง 3 เดือน รูเปิดของต่อมไขมันยังทำงานได้ไม่ดี แต่ต้องทำงานมากกว่าปกติ เพราะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนจากคุณแม่ ที่ได้รับมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ยังหลงเหลืออยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดการอุดตันและอักเสบได้ง่าย

  • ผื่นบนใบหน้า บริเวณใบหน้า แก้ม ตามซอกข้อพับ ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ หน้าอก และแผ่นหลังช่วงบน โดยเฉพาที่ ศีรษะ บริเวณคิ้ว ใบหู หลังหู จะมีต่อมไขมันมากกว่าส่วนอื่น ทำให้เห็นคราบไขมันเหลืองหนา แห้งเป็นเกร็ดติดอยู่ และจะผลิตออกมาเรื่อยๆ ของเก่าแห้งไป ของใหม่มาอีก แต่จะไม่ค่อยมีอาการคัน เจ้าตัวน้อยจึงไม่หงุดหงิดงอแง

  • ผื่นที่เกิดจากต่อมไขมัน ผื่นที่เกิดจากต่อมไขมันป้องกันไม่ได้ เพราะเป็นฮอร์โมนที่เจ้าตัวน้อยได้รับจากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ดังกล่าว จึงต้องรอเวลาที่ฤทธิ์ของฮอร์โมนในตัวของเขาหมดไป มันก็จะหายไปเอง ระยะเวลาแล้วแต่จะได้รับฮอร์โมนมามากหรือน้อย แต่สามารถดูแลให้จางหรือเบาบางได้ด้วยการใช้น้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เบบี้ออยล์ ฯลฯ นวดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ให้สะเก็ดมันนุ่ม แล้วค่อยเช็ดหรือสระออก สะเก็ดก็จะหลุดออก แต่ถ้าปล่อยให้สะเก็ดแห้งแข็งอยู่อย่างนั้น อาจไปขูดหนังศีรษะให้เป็นแผลติดเชื้อได้

  • ผื่นแดงบริเวณที่ไม่มีเส้นผมหรือขน เช่น แก้ม หลังหู ซอกคอ ขาหนีบ ฯลฯ ควรใช้ยาแก้อักเสบ 0.02% T.A. หรือครีมธรรมดาจำพวก Brand Cream ทาบางๆ เพื่อไม่ให้ผิวหนังเป็นขุยลอก หรือควรปรึกษาแพทย์ การทาคาลาไมน์ในกรณีนี้ช่วยได้ในช่วงแรก แต่ถ้าเนื้อแป้งในคาลาไมน์อาจเกาะติดรูต่อมไขมัน อาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ 

1. โรคกลากน้ำนม

2.การดูแลผื่นที่ถูกต้องเพื่อให้ผื่นหายเร็ว

3.โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก ที่คุณแม่ต้องรู้

เรียบเรียงโดย  : Mamaexpert Editorial Team