พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

16 November 2016
8017 view

ทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 2

ผ่านพ้นไปแล้ว 3 เดือน คุณแม่เริ่มคุ้นชินแล้วหรือยังคะ กับการมีสมาชิกตัวเล็กๆอาศัยอยู่ในท้องของคุณ  เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่2 อะไรๆก็เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะอาการแพ้ท้องเริ่มซาลง หลายคนหายจากการแพ้ท้องไปเลย และเริ่มเข้าสู่โมทกินอร่อย อยากกินของแปลก หิวบ่อย กินอะไรก็อร่อยไปหมด โดยเฉพาะ ของเปรี้ยวๆ และ ขนมหวาน ไตรมาสที่2นี้ จึงตรวจพบภาวะแทรกซ้อนได้บ่อย โดยเฉพาะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันสูง อาจนำไปสู่ครรภ์เป็นพิษ ในไตรมาสที่2 นี้ คุณแม่ส่วนใหญ่จะถูกนัดตรวจน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในคุณแม่ครรภ์แรก คุณแม่อายุ30ปีขึ้นไป และในคุณแม่อายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องคัดกรองทุกราย และคุณแม่หลายคนคงอยากรู้ว่า เจ้าตัวน้อยมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก ความยาวเท่าไหร่แล้ว เรามาดูกันค่ะ

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ไตรมาสที่ 2

  • อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ทารกยาว 8.07 ซม. น้ำหหนัก 43 กรัม
  • อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ ทารกยาว 10.1 ซม. น้ำหหนัก 70 กรัม
  • อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ ทารกยาว 11.6 ซม. น้ำหหนัก 100 กรัม
  • อายุครรภ์ 17 สัปดาห์ ทารกยาว 13.0 ซม. น้ำหหนัก 140 กรัม
  • อายุครรภ์ 19 สัปดาห์ ทารกยาว 15.3 ซม. น้ำหหนัก 240 กรัม
  • อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ทารกยาว 16.4 ซม. น้ำหหนัก 300 กรัม
  • อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ ทารกยาว 26.7 ซม. น้ำหหนัก 360 กรัม
  • อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ ทารกยาว 27.8 ซม. น้ำหหนัก 430 กรัม
  • อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ ทารกยาว 28.9 ซม. น้ำหหนัก 501 กรัม
  • อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ทารกยาว 30.0 ซม. น้ำหหนัก 600 กรัม
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกยาว 34.6 ซม. น้ำหหนัก 660 กรัม
  • อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ ทารกยาว 35.6 ซม. น้ำหหนัก 760 กรัม
  • อายุครรภ์ 27 สัปดาห์ ทารกยาว 36.6 ซม. น้ำหหนัก 875 กรัม
  • อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ทารกยาว 37.6 ซม. น้ำหหนัก 1005 กรัม
ทราบนำหนักความยาวของลูกไปแล้ว เรามาดูเรื่องของแม่ในการดูแลครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 เพื่อคุณแม่จะได้ระมัดระวังในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในทารกในครรภ์ไตรมาสที่  2

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์มีดังนี้ 
  • มีภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) ภาวะนี้มีโอกาสแท้งบุตรได้สูงเช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • มีภาวะที่ปากมดลูกไม่แข็งแรงที่เป็นสาเหตุการแท้งบุตรได้
  • เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • รกเกาะต่ำ
  • มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ยาบำรุงทารกในครรภ์ไตรมาสที่  2

  • แคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
  • ไอโอดีนวันละ 150 ไมโครกรัม
  • ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

     1. สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณี แท้งบุตร คลอดบุตร 

     2. พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1

     3. พัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 3

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team