3 เชื้อร้ายแรง ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในกระเเสเลือด พ่อแม่ต้อระวัง

04 March 2016
64811 view

ติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดจากหลายปัจจัย พบได้ทั้งในเด็กในผู้ใหญ่ แต่หากเกิดขึ้นในคนที่ภูมิต้านทานโรคต่ำเช่น ทารก และวัยชรา อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง วันนี้คุณแม่มาทำความเข้าใจเรื่องการติดเชื้อในกระแสเลือดในเด็ก เพื่อรับมือได้อย่างถูกต้องค่ะ
 

ติดเชื้อในกระแสเลือด มีสาเหตุเกิดจาก

การติดเชื้อในกระแสเลือดในเด็ก เกิดจากอะไรการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)ซึ่งเกิดจากหลายๆเชื้อด้วยกัน การติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดขึ้นจากการที่เชื้อโรคซึ่งอาจมีอยู่ในร่างกาย เช่น ตามลำคอ หรือโพรงจมูก ลุกล้ำเข้าสู่ร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอ และเกิดการพัฒนาจากโรคธรรมดาก่อให้เกิดการติดเชื้อและลุกลามเข้าสู่ในกระแสเลือด หากร่างกายเกิดการตอบสนองต่อภาวะติดเชื้อก็จะทำให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น โดยเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดได้จากทั้งเชื้อรา เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย แต่ส่วนมากจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลากหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงและเป็นสาเหตุหลักของโรคที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ คือ เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (ไอพีดี) เนื่องจากเป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปตามลำคอ และโพรงจมูกของคนทั่วไป โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ซึ่งเชื้อนี้ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุยแรงและแพร่กระจายได้
 

อาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดในเด็กเป็นอย่างไร

เด็กที่เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด จะมีไข้สูง คุณแม่จับตาดูเมื่อลูกมีไข้ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือตัวเย็นไปจนผิดปกติ ซึม ไม่เล่น ไม่ทาน ร้องโยเย กระสับกระส่าย หาก 2-3 วัน อาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที อย่านิ่งนอนใจ และซื้อยาให้ทานเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นแล้ว อาจทำให้เชื้อนั้นดื้อยามากขึ้นด้วย
 

การติดเชื้อในการะแสเลือดในเด็กพบได้บ่อยหรือไม่

การติดเชื้อในกระแสเลือดในเด็กจะพบไม่บ่อย แต่เมื่อเป็นมีความเสี่ยงสูงอาจทำให้เด็กพิการ หรือถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ส่วนสถานการติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กได้แก่เชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เกิดโรคได้ 3 ระบบ ระบบแรกมีการติดเชื้อที่รุนแรงและแพร่กระจาย หรือกลุ่มโรคไอพีดี ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ระบบที่ 2 ระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หูอักเสบ ไซนัสอักเสบ และสุดท้ายระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ปอดอักเสบ ปอดบวม
 

การติดเชื้อในการะเเสเลือดในเด็กมีวิธีรักษาอย่างไร

หากสงสัยว่าเป็น ขั้นแรกคุณหมอจะเพาะเชื้อในเลือด แล้วให้ยาเพื่อฆ่าเชื้อทันที ซึ่งสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือการเสียชีวิตลงได้ การเพาะเชื้อใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน หรือ 48-72 ชั่วโมงค่ะ พอรู้แล้วว่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ติดเชื้อเป็นชนิดไหน คุณหมอก็จะปรับยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะให้เหมาะสมอีกครั้ง และจะให้ยาต่อเนื่องอีกประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะหายจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้

การติดเชื้อในการะแสเลือดในเด็กป้องกันได้อย่างไร

คุณแม่สามารถป้องกันลูกจากโรคร้ายแรงนี้ได้ตั้งแต่แรกเกิดด้วยการให้ภูมิคุ้มกันธรรมชาติผ่านน้ำนมแม่ เฝ้าดูแล สังเกตอาการเมื่อลูกไม่สบาย รักษาสุขอนามัยให้ลูก เพราะเด็กเล็กจะสอนและบอกให้รักษาสุขอนามัยเป็นประจำคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จึงต้องช่วยดูแลในเรื่องนี้ เช่น ให้เด็กล้างมือเสมอเมื่อหยิบจับสิ่งของ เวลาไอหรือจาม ปิดปาก ปิดจมูก เป็นต้น นอกจากนี้ไม่ควรให้เด็กไปสถานที่ที่แออัดบ่อยๆ หรือเมื่อเด็กไม่สบายควรให้พักอยู่กับบ้าน เพราะเชื้อแบคทีเรียเหล่านั้นแพร่กระจายอยู่ทั่วไป