ปัสสาวะบอกโรค
ปัสสาวะของคนเราสามารถบอกสุขภาพของเรา ณ เวลานั้นๆได้เป็นอย่างดี สังเกตไหมคะว่า เวลาเราเจ็บป่วย เมื่อไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ส่วนใหญ่แล้ว ปัสสาวะจะเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์ต้องให้เราเก็บส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคร่วมกับการตรวจอย่างอื่นไปด้วย เรามาทำความรู้จักกับปัสสาวะกันค่ะ
16 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับสีของปัสสาวะบอกโรค
- ปัสสาวะ เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือด และร่างกายได้ทำการขับปัสสาวะออกมาเป็นปัสสาวะ
- น้ำปัสสาวะปกติ มีสีเหลือง ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน มีกลุ่นฉุนเล็กน้อย
- ปัสสาวะจะมีสีเหลืองใส มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 95% และมีของแข็งประมาณ 5% ในของแข็งที่เป็นส่วนประกอบมีทั้งส่วนที่เป็นสารอินทรีย์และ ส่วนที่เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนีย น้ำตาล โซเดียม คลอไรด์ แคลเซี่ยม และแมกนีเซี่ยม เป็นต้น
- หากร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ นอกจากนี้ยังมีกรดไขมันบางชนิด และฮอร์โมนบางชนิดด้วย สีของน้ำปัสสาวะเป็นสี ที่เกิดจากน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำปัสสาวะจะขึ้นกับปริมาณของเกลือแร่หรือแร่ธาตุต่างๆ และปริมาณน้ำที่เป็นส่วนประกอบ
- ปัสสาวะที่มีค่าเป็นกรด คือมีค่า pH ต่ำกว่า 7.4 และสามารถเปลี่ยนได้ตามอาหารที่รับประทานและสุขภาพร่างกายของเรา
- คนปกติควรปัสสาวะไม่น้อย
กว่า 400 cc. ต่อวัน - ดื่มน้ำน้อย อาจมีสีเหลืองเหมือนน้ำชาแก
่ - น้ำปัสสาวะเหลืองมากเหมือ
นขมิ้นตับอาจมีปัญหา - น้ำปัสสาวะขุ่นขาว แสดงว่าติดเชื้อ
- น้ำปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นนิ่ว ไตอักเสบหรือมะเร็ง (เลือดเน่า)
- น้ำปัสสาวะสีดำ เป็นปัญหาที่เม็ดเลือดแตก อาจเกิดจากมาลาเรียหรือแพ้ย
า - ถ้าน้ำปัสสาวะมีน้ำตาลออก
มาด้วย เป็นเบาหวาน - ถ้าน้ำปัสสาวะมีไข่ขาวออก
มา เป็นไตวาย - ถ้าตั้งน้ำปัสสาวะทิ้งไว้
เห็นตะกอนเป็นสีชมพูอ่อน แสดงว่ามีกรดยูริคมาก (โรคเก๊า) - มีปัสสาวะเป็นเลือด มีปัสสาวะแสบ ขัด ปัสสาวะลำบาก คุณอาจเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วเกิดจากสารสำคัญ 3 ตัว คือ แคลเซียม อ๊อกซาเลท และกรดยูริค (ยูริคแอซิด)
- ปัสสาวะเป็นสีม่วงเกิดจากการได้รับสารเคมีบางอย่างเช่น สารเสพติด ยาที่รับประทาน
วันนี้ลองสังเกต สี จำนวน กลิ่น ปัสสาวะของคุณดูนะคะว่าปกติดีหรือไม่ คุณอาจมีโรคซ่อนอยู่ หากมีความผิดปกติเกี่ยวกับปัสสาวะ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติจะได้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่
1. ฝึกนั่งกระโถนอย่างไรลูกไม่เครียด
2. ฝึกการขับถ่ายให้ลูกอย่างไรดี เริ่มเมื่อไหร่
3. แบบไหนที่เรียกว่าลูกขับถ่ายผิดปกติ คุณแม่มือใหม่อาจไม่รู้
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team