ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อันตรายหรือไม่?

23 June 2016
8334 view

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด


ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด พบได้ 1 ใน 200 คน มีทั้งแบบชัดเจนและไม่ชัดเจน โดยปกติแล้ว รก จะลอกตัวก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการคลอดเรียบร้อยแล้ว หลังคลอดประมาณ 20 นาที จะเข้าสู่กระบวนการคลอดรกและในช่วงเวลาดังกล่าวรกจะลอกตัวออกมาตามธรรมชาติ ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรมีการลอกตัวของรกเพราะส่งผลต่อชีวิตของแม่และลูกทันทีหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

แม่ท้องที่เสี่ยงเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

  • ภาวะถุงน้ำคร่ำแตก
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • คุณแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณท้อง
  • มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • มีประวัติภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน
  • ขณะตั้งครรภ์ สูบบุหรี่
  • ขณะตั้งครรภ์ ดื่มแอลกอฮอล์

อาการแสดงของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
  • ปวดท้องน้อยรุนแรง
  • มีจุดเลือดออกตามร่างกายเนื่องจากเกิดการเเข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ
  • แพทย์ตรวจพบว่าทารกอยู่ในท่าไม่แน่นอน
  • แพทย์ตรวจพบมีการเเข็งตัวของมดลูก
  • ตรวจไม่พบเสียงหัวใจทารกเพราะทารกอาจเสียชีวิตแล้ว

การรักษาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

  • ดูแลให้คุณแม่ได้รับสารน้ำ ( น้ำเกลือ )
  • ดูแลให้ออกซิเจน
  • ติดตามการเต้นของหัวใจทารก
  • หากพบว่าทารกเสียชีวิตแล้ว เเพทย์จะเจาะถุงน้ำคล่ำเพื่อให้ทารกคลอดออกมา
  • ทำการคลอดธธรมชาติ หรือผ่าตัดคลอดด่วน ในกรณีพบว่าทารกยังมีชีวิตอยู่แต่อยู่ในภาวะฉุกเฉินและมีโอกาสรอด
  • แพทย์อาจพิจารณาตัดมดลูกทิ้งหากพบว่ามีเลือดไหลไม่หยุดและส่งผลต่อชีวิตของมารดา
คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องหมั่นสังเกตภาวะผิดปกติขณะตั้งครรภ์ เช่น ปวดท้องน้อย มีเลือดออก งดดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และระมัดระวังเรื่องการเกิดอุบัติเหตุด้วย การมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์อันตรายทุกช่วงอายุครรภ์ ถึงจะแค่น้อยนิดแต่คุณอาจอยู่ในภาวะแฝงของบางโรค ต้องรีบปรึกษากุมารแพทย์โดยทันที เพื่อคนที่คุณรัก
เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team