ตั้งครรภ์ 5 เดือน การเปลี่ยนแปลงของแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์

14 November 2016
111657 view

ตั้งครรภ์ 5 เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ 5 เดือน

เด็กทารกช่วงนี้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อวัยวะทำงานได้เต็มที่ เด็กเริ่มมีรายนิ้วมือ กล้ามเนื้อจะแข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตใต้เหงือก ผม ขนคิ้ว ขนตายาวขึ้นเด็กจะมีการตื่นและนอนเป็นเวลา คุณแม่สามารถรู้ได้ว่าเด็กมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เด็กดุดนิ้วมือเป็น เด็กระยะนี้จะยาว 10-12 นิ้วหนักครึ่งกิโลกรัม

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่อตั้งครรภ์5 เดือน

การตั้งครรภ์เดือนที่5 นั้นเมื่อคุณแม่ไปพบแพทย์จะตรวจเหมือนกับเดือนที่ 4 อย่าลืมจดปัญหาเพื่อไปปรึกษากับแพทย์ อาการของผู้ป่วยจะคล้ายกับเดือนที่ 4แต่จะมีอาการมากขึ้น เช่นการเคลื่อนไหวของเด็กเพิ่มขึ้น ตกขาวเพิ่มขึ้น ปวดท้องน้อยเนื่องจากเอ็นที่ท้องตึงขึ้น ท้องผูก ท้องผูก ปวดศีรษะ เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ขาเป็นตะคริว เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ปวดหลัง ผิวจะมีสีคล้ำขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ 5 เดือน

เส้นเลือดขอด  ระหว่างการตั้งครรภ์เส้นเลือดดำที่ขาจะต้องรับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของปกติ ยิ่งถ้าหากว่าที่คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานด้วยแล้ว และถ้าหากการตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ก็มักจะพบเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นได้เสมอ วิธีที่จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นหรือป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดนั้นสามารถทำได้โดย ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขาสามารถไหลเวียนได้สะดวกขึ้น เมื่อมีเวลาว่างอยู่ที่บ้าน อาจยกขาสูงพิงไว้กับข้างฝาชั่วขณะหนึ่ง หรือในระหว่างวันก็สามารถทำกายบริหาร ออกกำลังโดยหมุนข้อเท้าไปรอบๆ ทำบ่อยๆ เมื่อนึกขึ้นได้ จะช่วยให้เลือดดำไหลกลับได้ดีขึ้นและไม่ขังอยู่ทำให้เป็นเส้นเลือดขอด

การตรวจต่าง ๆของ แม่ตั้งครรภ์ 5 เดือน

การทดสอบความเสี่ยงภูมิแพ้ คุณแม่ควรรู้ให้ไวที่สุดว่าลูกมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้หรือไม่ แค่คลิกเช็คความเสี่ยงภูมิแพ้ ที่ทำได้เองภายใน 1 นาที เพื่อปกป้องลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ยอดฮิตที่มีอัตราการเป็นในเด็กเพิ่มมากขึ้นๆ และอาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในระยะยาว การป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มมีบทบาทสำคัญมาก ลดโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคภูมิแพ้อื่นๆ หรือลดความรุนแรงของโรคได้ เพื่ออนาคตของลูกน้อย พ่อแม่ยุคใหม่จึงยิ่งต้องใส่ใจและควรวางแผนป้องกันตั้งแต่วันนี้

การตรวจปัสสาวะ ในการตรวจปัสสาวะบางครั้งอาจพบว่ามีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งอาจหมายถึง การเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์ อย่าเพิ่งตกใจ เมื่อคุณรับประทานอาหารมากขึ้น มีการเผาผลาญมากขึ้น บางครั้งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้มีน้ำตาลเหลือ และกรองผ่านไตออกมากับปัสสาวะ คุณหมออาจจะให้ตรวจซ้ำ หากผลการตรวจครั้งที่ 2 ปกติ เนื่องมาจากร่างกายสามารถปรับตัวและผลิตอินซูลินออกมาได้เพียงพอ ก็จะมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจ GTT (Glucose tolerance test) เพื่อยันยันผลการตรวจว่าปกติแน่นอน

เลือกอ่านอายุครรภ์อื่นๆ โดยการคลิกที่ตัวเลขค่ะ 

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team